ข้ามไปเนื้อหา

ไดอะมิกไทต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไดอะมิกไทต์ที่เยอรมันตะวันออก

ไดอะมิกไทต์ (อังกฤษ: diamictite) คือ หินกรวดมน หรือหินกรวดเหลี่ยม (หินตะกอนชนิดหนึ่ง) ที่มีการคัดขนาดของตะกอนที่แย่มาก หรือไม่มีเลย โดยมีขนาดของเม็ดตะกอนที่หลากหลาย ซึ่ง 25% ของหินชนิดนี้เป็นเม็ดตะกอนขนาดกรวด (gravel sized; ใหญ่กว่า 2 มม.) ไดอะมิกไทต์ประกอบไปด้วยเศษหิน หรือเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ (clast) ที่มีความหยาบ หรือกลมมนก็ได้ และเศษหินใหญ่เหล่านี้จะถูกรองรับ พยุงด้วยเศษหิน หรือเม็ดตะกอนที่เล็กกว่า (matrix) โดยที่เศษหินเหล่านี้เป็นได้ทั้งหินตะกอน หินอัคนี และหินแปร

ศัพท์คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย ฟลินท์ (Flint) ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นหินตะกอนที่มีการคัดขนาดของเม็ดตะกอนที่ต่ำ (poorly sorted) และไม่สามารถบอกแหล่งต้นกำเนิดที่แน่นอนได้

ส่วนใหญ่แล้ว ไดอะมิกไทต์ จะถูกเข้าใจ หรือตีความว่าเป็นหินที่เกิดจากผลของธารน้ำแข็ง แต่โดยแท้จริงแล้วหินชนิดนี้สามารถเกิดได้จากหลายกระบวนการ คือ ธารน้ำแข็ง, ภูเขาไฟระเบิด, กระบวนการใต้ทะเล, ธรณีแปรสัณฐาน, การกัดกร่อนผุพัง และการพุ่งชนโลกของหินอุกาบาต

อ้างอิง

1. ^ Hallsworth, C.R., Knox, R.W.O'B.: Classification of sediments and sedimentary rocks. British Geological Survey, Research Report RR 99-03, p. 6. (pdf 470 Kb) 2. ^ Flint, R.F., Sanders, J.E., Rodgers, J. : Diamictite, a substitute term for symmictite. Geol. Soc. Am. Bull. 71, 1809–1810, 1960. 3. ^ a b Eyles, N.; Januszczak, N. (2004). "’Zipper-rift’: A tectonic model for Neoproterozoic glaciations during the breakup of Rodinia after 750 Ma". Earth-Science Reviews 65 (1-2): 1-73. (pdf 4 Mb) 4. ^ Huber, H., Koeberl, C., McDonald, I., Reimold, W.U.: Geochemistry and petrology of Witwatersrand and Dwyka diamictites from South Africa: Search for an extraterrestrial component. Geochimica et Cosmochimica Acta, Vol. 65, No. 12, pp. 2007–2016, 2001. (pdf 470 Kb)