ข้ามไปเนื้อหา

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ฝรั่งเศส: Lèse majesté) ความหมายตามพจนานุกรมไทยนั้นคือ การกระทำการอันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ถือเป็นอาชญากรรรมร้ายแรงมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน และปรากฏสืบเนื่องต่อมาในราชอาณาจักรยุโรปยุคกลาง จนกระทั่งในปัจจุบัน ในยุโรปยุคกลางความผิดการปลอมเหรียญกษาปณ์ก็ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เพราะว่าในเหรียญมีพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระราชลัญจกรอยู่ ต่อมาจึงได้มีการแยกแยะอาชญากรรมเหล่านี้ออกไปอยู่ในฐานความผิดอื่นๆ

ความผิดทางอาญาในประเทศไทย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"

ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เป็นบทบัญญัติหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเริ่มมีขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยแรกเริ่มนั้นมีโทษทั้งจำทั้งปรับ แต่ไม่มีข้อกำหนดโทษต่ำสุด มีแต่เพียงโทษสูงสุดเท่านั้น ทั้งนี้ข้อหาดังกล่าวใช้กับการ “หมิ่น” ผู้ดำรงฐานะ ๔ อย่างเท่านั้น โดยเป็นพระราชวงศ์ ๓ ตำแหน่ง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก ๑ ตำแหน่ง และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการ “หมิ่น” พระราชโอรส พระราชธิดา แยกไว้อีกมาตราหนึ่ง

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการแก้ไขกฎหมายลักษณอาญามาตรา ๑๐๔ กำหนดโทษการสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแยกไว้อีกข้อหาหนึ่ง

เมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙ และยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา โทษข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปรากฏอยู่ในมาตรา ๑๑๒ โดยโทษจำคุกคงไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนโทษปรับได้ยกเลิกไป หลังการรัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งฝ่ายขวาจัดได้กลับมามีอำนาจในประเทศไทย คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพิ่มโทษข้อหาหมิ่นทั้งสามกลุ่มได้แก่ หมิ่นประมาท หมิ่นศาล และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำให้กับข้อหาหมิ่นศาลและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ความผิดตามกรณีนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗) ซึ่งชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ภายนอกราชอาณาจักรก็สามารถกระทำผิดได้ และหากเดินทางเข้ามาในประเทศไทยก็อาจถูกจับและดำเนินคดีภายใต้กฎหมายไทย

ด้วยระวางโทษในปัจจุบันคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีอายุความสิบห้าปี ซึ่งหมายความว่าจะฟ้องร้องต่อศาลเมื่อใดก็ได้ภายหลังวันกระทำความผิดไปแล้วเป็นเวลาสิบห้าปี

วิธีการดำเนินคดี

เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสอบขออำนาจศาลออกหมายจับ สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องร้องต่อศาล ทั้งนี้ผู้ใดที่พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าวสามารถแจ้งต่อพนักงานสอบสวนได้ทันที คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยปกติเรื่มจากการแจ้งเบาะแสและดำเนินตามขั้นตอนไปโดยตำรวจและอัยการ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวังแต่อย่างใด

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีอายุความถึง ๒๐ ปี ดังนั้นจะฟ้องร้องต่อศาลเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวหลังจากการกระทำความผิด

คณะอนุกรรมาธิการกำกับติดตามการป้องกันและปราบปรามเว็บไซต์และการกระทำหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คณะกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร

ปัจจุบันคณะอนุกรรมาธิการดังกล่าวมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน และมีเว็บไซต์ http://www.protecttheking.net [1] เปิดรับแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด

การกล่าวหาหรือการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่สำคัญ

วันที่เกิดเหตุ ผู้ถูกกล่าวหา เหตุการณ์
สนธิ ลิ้มทองกุล การกล่าวคำปราศัยบนเวทีพันธมิตร

ปัจจุบันพ้นข้อกล่าวหา

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กรณีสติกเกอร์

มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ในที่สุดก็พ้นข้อกล่าวหา

กระทำความผิด

๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๙

นายวีระ มุสิกพงศ์ กรณีปราศัยหาเสียงหาเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี ว่า

“…ถ้าเลือกเกิดได้ก็เลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังนั่น ออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระซะก็หมดเรื่อง ไม่จำเป็นจะต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยงๆ ก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้ว ตื่นอีกทีบ่ายสามโมง ที่มายืนกลางแดดอยู่ทุกวันนี้ก็มันเลือกเกิดไม่ได้…”[2]

ศาลฎีกาตัดสินจำคุกสองกระทง กระทงละ ๒ ปี รวม ๔ ปี

ต่อมาขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับพระราชทานอภัยโทษ

พ.ศ. ๒๕๕๒ นายสุวิชา ท่าค้อ ภาพตัดต่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

ศาลตัดสินจำคุกสองกระทง กระทงละ ๕ ปี รวม ๑๐ ปี

จับกุม

๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

นายแฮรี่ นิโคไลดส์

ชาวออสเตรเลีย

ข้อความในหนังสือ Verisimilitude หนึ่งย่อหน้า โดยมีข้อความเริ่มต้น "From King Rama to the Crown Prince, the nobility was renowned for their ..." และลงท้ายว่า "...she and her family would disappear with their name, familial lineage and all vestiges of their existence expunged forever."[3]

ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก ๓ ปี

ต่อมาขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับพระราชทานอภัยโทษ

พ.ศ. ๒๕๕๑ นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง ไม่ยืนเมื่อมีเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ [4]

คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน

นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ สุลักษณ์ ถูกกว่าหาด้วยข้อหานี้หลายครั้ง แต่ศาลพิพากษาในพ้นมลทินทุกกรณี
รศ. ดร. ใจ อึ๊งภากรณ์ หนังสือ A Coup for the Rich ซึ่งมีการอ้างอิงหนังสือ The King Never Smiles

อยู่ระหว่างการสอบสวนของตำรวจ ผู้ต้องหาหลบหนีไปยังสหราชอาณาจักร

การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ข้อเรียกร้องของนักวิชาการต่างชาติ

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมตรีไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงนามโดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก [5] มีข้อเรียกร้องสามข้อ

๑. ให้หยุดการใช้มาตรการที่กดขี่ข่มเหงการแสดงความคิดเห็นของบุคคลโดยสงบ

๒. ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด และปกป้องพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ในเวทีสากล

๓. ให้พิจารณาถอนการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบัน ปลอดปล่อยนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นไม่ควรเป็นอาชญากรรม

ข้อเสนอของนักวิชการไทย

ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เสนอให้คงกฎหมายไว้เช่นเดิม แต่ให้แก้ไขให้อัยการสูงสุดมีสิทธิ์ขาดในสืบสวนและสั่งฟ้องแต่ผู้เดียวเท่านั้น โดยให้คำสั่งของอัยการสูงสุดเป็นสิทธิ์ขาด จะอุทธรณ์คำสั่งหรือจะเอาผิดอัยการสูงสุดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิได้ [6]

อ้างอิง

ประมวลกฎหมายอาญา