ข้ามไปเนื้อหา

งูเขียวพระอินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Chrysopelea ornata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Colubridae
สกุล: Chrysopelea
สปีชีส์: C.  ornata
ชื่อทวินาม
Chrysopelea ornata
(Shaw, 1802)


งูเขียวพระอินทร์ หรือ งูเขียวดอกหมาก (อังกฤษ:Golden Tree Snake,ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Chrysopelea ornata ) เป็นงู ลักษณะลำตัวเรียวยาว ปราดเปรียว เกล็ดสีเขียวแกมเหลืองลายดำ สามารถเลื้อยไต่ไปบนกิ่งไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว มีพิษอ่อนแต่ไม่ร้ายแรงมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการอักเสบ และบวมที่บริเวณบาดแผล ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Chrysopelea ornata


ลักษณะทั่วไป : เป็นงูบก หัวกลม ว่องไวปราดเปรียว เลื้อยเร็ว ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว หัวมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ใต้คางสีขาว ใต้ท้องสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ


ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 550 เมตร ในประเทศไทย จีน อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ งูเขียวดอกหมากกิน กิ้งก่า จิ้งจก ลูกนก หนู งูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ บางครั้งหาอาหารกินไม่ได้ก็ใช้วิธีบังคับแย่งอาหารกินจากตุ๊กแก จนเข้าใจกันผิด ๆ ว่างูเขียวกินตับตุ๊กแก แต่ที่จริงแล้วงูเขียวใช้วิธีรัดตัวตุ๊กแกบังคับให้อ้าปาก แล้วแย่งกินเศษเนื้อเศษแมลงที่ติดอยู่ตามซอกในปากและฟัน ไม่ใช่ล้วงเข้าไปกินตับตุ๊กแก ถ้าตุ๊กแกตัวไม่โตนักก็จะกลืนกินตุ๊กแกทั้งตัวเลย


พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : งูเขียวดอกหมากชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมบ้าน ซุ้มไม้ โพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 6-12 ฟอง



อ้างอิง

http://www.electron.rmutphysics.com/science-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=11469&Itemid=8