ข้ามไปเนื้อหา

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ไฟล์:Abisit.jpg
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27
เริ่มดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 เมษายน พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าบัญญัติ บรรทัดฐาน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
ก่อนหน้าโภคิน พลกุล
ชิงชัย มงคลธรรม
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
วีระกร คำประกอบ
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รักเกียรติ สุขธนะ
ถัดไปจาตุรนต์ ฉายแสง
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สมศักดิ์ เทพสุทิน
กระแส ชนะวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
สหราชอาณาจักร เมืองนิวคาสเซิล สหราชอาณาจักร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์http://www.abhisit.org

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 — ) นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย[1] [2] เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับตำแหน่งในขณะที่มีอายุเพียง 44 ปี

ในอดีตอภิสิทธิ์เป็นส.ส. กรุงเทพมหานคร 6 สมัย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สคศ.) , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป) และสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (ครม.คณะที่ 53)

อภิสิทธิ์ เป็นนักการเมืองที่มีบุคลิกหน้าตาดี ได้รับสมญานาม จากสื่อมวลชนว่า "หล่อใหญ่" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกันกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นใหม่บุคคลอื่น ๆ เช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้าของสมญานาม "หล่อโย่ง" เป็นต้น[3][4]

หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ เนื่องจากเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส.มากที่สุด และ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร อภิสิทธิ์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงาตามรูปแบบ คณะรัฐมนตรีเงาที่มีในระบบเวสต์มินสเตอร์ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะและติดตามตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล

หลังจากรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นตำแหน่งเนื่องจากพรรคพลังประชาชนถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค เกิดการย้ายขั้วทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยเป็นการย้ายขั้วจากส.ส.ของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์กับพรรคร่วมรัฐบาลนายสมชาย ไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นรัฐบาล จนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาคต่างๆ

เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟและเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจาก พระยาศรีวิศาลวาจา[5][6]

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศว่าที่ร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกอภิสิทธิ์ว่าในบางครั้ง ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [7]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)

ตระกูลเวชชาชีวะ

ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี ต่อมาในรุ่นคุณปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "คุณปู่ใหญ่" (พี่ชายของปู่) พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (10 ก.พ. 2502-8 ธ.ค. 2506) และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 (11 ธ.ค. 2506- 11 มี.ค. 2512) เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2492 และเป็นพี่ชายของนายโฆสิต เวชชาชีวะ ปู่ของอภิสิทธิ์

สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุล ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย [8]

อภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันท์เป็นบุตรของ |นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของอภิสิทธิ์

การรับราชการทหาร

ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 วีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่าอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร[9][10] พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน[11] เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 ซึ่งอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[9] คำแถลงของอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร [12] จึงเกิดข้อกังขาว่า หากอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้

เรื่องดังกล่าว อภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น ในอีกทางหนึ่งเรื่องนี้เคยมีความเห็นจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่าในครั้งนั้น อภิสิทธิ์ สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ และมีความเห็นว่าอภิสิทธิ์ ได้เข้ารับราชการทหารแล้ว [13]

ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็น จากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้อภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น[14]

การโจมตีเรื่องอภิสิทธิ์หนีทหาร เกิดขึ้นอีกครั้งประมาณปลายปี พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค และอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาส จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในที่สุดกลายเป็นหัวข้อหนึ่งที่ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เมื่ออภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่ถึง 3 เดือน

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ได้ตอบกระทู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ เกี่ยวกับการรับราชการทหารว่า มีความเข้าใจผิดว่าตนสมัครเข้ารับราชการทหาร หลังจากหนีเกณฑ์ทหาร แต่ในความเป็นจริง ได้สมัครเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ ก่อนถึงกำหนดเกณฑ์ทหารแล้ว การสมัครเข้ารับราชการทหารในขณะนั้นจึงไม่ต้องใช้ สด.๔๓ แต่ใช้ สด.๙ และหนังสือผ่อนผันฯ แทน ซึ่งอภิสิทธิ์ยืนยันว่าขณะที่สมัครเข้า รร.จปร. ตนมีเอกสาร สด.๙ ที่ได้รับประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและกลับมาถึงประเทศไทย และมีรายชื่อได้รับการผ่อนผันฯ เพื่อเรียนต่อปริญญาโท ช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2532 ตามบัญชีของ ก.พ. ที่จัดทำตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2529 การสมัครเข้า รร.จปร. ของตนจึงเป็นการสมัครโดยมีคุณสมบัติครบถ้วน หลังจากสมัครเข้า รร.จปร. ได้ผ่านการฝึกทหารคล้ายการฝึก รด. จนครบตามหลักสูตรจึงได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ในการขอติดยศร้อยตรีนั้นตนได้ทำเอกสาร สด.๙ หายจึงได้ไปขอออกใบแทน แต่ในการสมัครเข้า รร.จปร. ได้ใช้ สด.๙ ตัวจริงสมัคร แล้วเอกสารมีการสูญหายในภายหลัง ในการอภิปรายครั้งนี้อภิสิทธิ์ได้แสดง สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการยกเว้นผ่อนผันฯ และ สำเนา สด.๙ ฉบับแรกของตน ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย[15]

ประวัติการทำงาน

เข้าสู่แวดวงการเมือง

อภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ พิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[16] ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[17] ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้

ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า อภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง

นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก[6] อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้อภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548

บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง 2549

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

ข้อเสนอของอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ อภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า "มาร์ค ม.7"

ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย

ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง ปี 2549

พรรคไทยรักไทยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้สินบนกับพรรคเล็กเพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่มีความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมาชิกคณะกรรมการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรรหาข้อเท็จจริง ที่นำโดยรองอัยการสูงสุดชัยเกษม นิติสิริ มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยและอีก 3 พรรคการเมือง) ขึ้นอยู่กับหลักฐานให้สินบนกับพรรคเล็กต่างๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ประชุมกับสายสัมพันธ์ทางการเมืองจาก 20 ประเทศเพื่อที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง[18][19]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในกรณีก่อนที่กองทัพแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสาบานตนว่าพวกเขาถูกหลอกให้สมัครเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งเดือนเมษายน[20]

พยาน 3 คนยืนยันว่าเลขาพรรคประชาธิปัตย์ถาวร เสนเนียม, วิรัต กัลยาสิริ และ Jua Ratchasi สนับสนุนให้ผู้ประท้วงขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งซ่อม[21] หลังจากการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 อัยการยืนยันว่าพรรคพยายามตัดสิทธิ์ผลการเลือกตั้งและบังคับให้จัดการเลือกตั้งซ่อมต่อไป ข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ถูกต้องซึ่งพยายานกลุ่มเดียวกันนี้ถูกว่าจ้างโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์พ้นความผิด ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีความผิด[22][23]

นโยบายทางการเมืองที่ตรงกันข้าม

วันที่ 29 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศเป้นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสัญญาว่าเป็นแผนงานเพื่อประชาชน ซึ่งเน้นการศึกษาเป็นหลักเขาใช้สโกแกนหาเสียงว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เขายังได้สัญญาว่าจะไม่นำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา เอามาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำมาแล้ว[24] แต่เขาจะทำให้เป็นประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง การพิจารณาถึงแก่นหลักของความรู้เบื้องต้นที่เรียกกันว่า "ทักษิโณมิคส์" อภิสิทธิให้สัญญาว่า "ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, และโครงการ SML จะไม่ถูกยกเลิกแต่ทำให้ดีขึ้น" อภิสิทธิ์ออกมากระตุ้นในภายหลังว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นควรัจะเข้าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ฟรี[25] อภิสิทธิ์แถลงว่าอนาคตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์และธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด (กฎหมายกำหนดให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีทุกคนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน) [26]

อภิสิทธิ์รวบรวมเงินจำนวน 200 ล้านบาทในงานเลี้ยงอาหารเย็นในโอกาสครบรอบ 60 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ภายในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขาสรุปนโยบายด้านพลังงานรวมถึง เพิ่มจำนวนการจ่ายเงินปันผลจากปตท.และการใช้กองทุนชดใช้หนี้ให้แก่กองทุนน้ำมัน และอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับราคาเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น[27] เขาสรุปแผนทีหลังว่าจะลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินโดยลดภาษี 2.50 บาท/ลิตรออกไปจากที่เคยใช้ปรับปรุงกองทุนน้ำมันของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แผนของเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นการบิดเบือนตลาดการค้าและขัดขวางไม่ให้ลดการบริโภคน้ำมัน

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์สัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำปัญหานี้ให้อยู่ในระเบียบวาระของสังคมของจังหวัดภาคใต้[18]

อภิสิทธิ์ยังสัญญาอีกด้วยว่าจะใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่างนั้นรวมถึง นโยบายเรียนฟรี, ตำราเรียน, นมและอาหารเสริมสำหรับโรงเรียนอนุบาลและการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ[28]

สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550

อภิสิทธิ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พิจาณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เหมือนกับที่เคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ปรับปรุงพร้อมกับจุดบกพร่อง "ถ้าเราขอร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันจะเป็นสิ่งที่ชี้นำไปยัง (คมช.) เราเสนอจุดยืนตรงนี้ เพราะว่าเราเป็นห่วงเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียของชาติ และต้องการประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว" เขากล่าวอย่างนั้น[29] การรับทราบถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อภิสิทธิ์ได้เสนอพร้อมกับเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่เขามีอำนาจ[30]

เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 นั้นอภิสิทธิ์พ่ายแพ้ให้กับสมัครด้วยคะแนนเสียง 163 ต่อ 310 เสียง[31]

ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สมัคร สุนทรเวชพ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีในชณะนั้น[32] เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินใหห้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหาราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง และศาลยังตัดสินให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผูบัญชาการทหารบก ที่ร่วมก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถูกสื่อมวลชนรายงานว่าเขาเป็นผู้ที่สนับสุนหรือบีบบังคับให้ ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามแปรพักตร์มาอยู่ฝ่ายอภิสิทธิ์[33] ส.ส.เหล่านั้นมาจากพรรคเพื่อไทย (พรรคที่สืบสทอดต่อจากพรรคพลังประชาชน) สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนานำโดยสนั่น ขจรประศาสน์ (พรรคที่สืบสทอดต่อจากพรรคชาตไทย) และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่ม"เพื่อนเนวิน" อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทำให้ให้พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงข้างมากในสภา[34] สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[35][36][37] และชนะการโหวตการนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีประชา พรหมนอกเป็นคู่แข่ง[38]

ทางด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการที่อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "เป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ ที่แท้จริง" และ "รัฐประหารสไตล์อนุพงษ์"[39] โอกาสที่อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากชนชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร, กองทัพและคนในพระราชวัง[40]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ไฟล์:551000015961501.jpg
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ที่พรรคประชาธิปัตย์

ในวันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 17.19 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำร่างพระบรมราชโองการแต่งตั้งอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน[41] (ฟังเสียงแถลงการณ์อภิสิทธิ์ฯ หลังรับพระบรมราชโองการฯ)

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีความสำคัญรวมไปถึงกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกรณ์ จาติกวณิช อดีตนายทุนนายธนาคารและอดีตเพื่อนร่วมคณะเศรษฐศาสตร์กับนายอภิสิทธิที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[42] อภิสิทธิ์ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากกรณีที่แต่งตั้งนายกษิตมาเป็นรมว.ต่างประเทศ อภิสิทธิ์ออกมากล่าวปกป้องนายกษิตว่า "คุณกษิตได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานของเขามาอย่างดี เคยเป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญของประเทศ มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเขาเคยร่วมแถลงการณ์ต่างๆหรือร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฎหมายเขาก็จะไม่ถูกดำเนินคดี"[43] พรทิวา นาคาศัย อดีตเจ้าของธุรกิจอาบอบนวด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้มีการเจรจาต่อรองตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด[44]

เมื่ออภิสิทธิ์ก้าวขึ้นมาสู้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเป็นลำดับแรกคือ ส่งSMS ไปยังหมายเลขผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 10 ล้านคน ปรากฏข้อความว่า "Your PM" เชิญชวนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติ หากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายใดสนใจ ให้ส่งข้อความตอบกลับทางไปรษณีย์ในราคา 3 บาท อภิสิทธิ์ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล จากกรณีที่ส่งSMS ไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ตั้งข้อกำหนดในระบบโทรศัพท์มือถืออาจไม่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าบางราย รวมไปถึงหมายเลขโทรศัพท์นั้นๆ โดยที่ลูกค้ารายนั้นไม่ยินยอม อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครออกมาต่อต้านการกระทำของอภิสิทธิ์แต่อย่างใด.[45][46]

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา

ในเดือกมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกราชนาวีไทยจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้อภิสิทธิ์ออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[47]

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ออกมาขอร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเข้าถึงตัวผู้รอดชีวิตบนเรือ 126 คนจากการดูแลของไทย[48] อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้วองค์กรนี้จะต้องทำงานบนพื้นฐานของความร่วมมือกับวิธีปฏิบัติของรัฐบาลไทยที่ถูกต้อง กองทัพกล่าวว่าทางกองทัพเองไม่มีข้อมูลที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในการควบคุมของกองทัพ[49]

นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน ทางเจ้าหน้าที่ราชนาวีไทยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[50] จากนั้นอภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด การสอบสวนถูกนำโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากนั้นได้ทบทวนเพื่อดำเนินการกับกลุ่มคนที่โฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[51] นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เสนอแนะว่าสถานการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมาทั้งนั้น เพื่อทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศไทย[52] นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวหาซีเอ็นเอ็นว่า รายงานข่าวไม่เป็นความจริงและยังเรียกร้องให้ประชาชนอย่าไปหลงเชื่อ[53][54]

แองเจลินา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ วิจารณ์รัฐบาลไทยว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮิงยา และเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควมคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิ UNHCR มีการบันทึกว่า UNHCR ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ[55][56] นายอภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งนักวิเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างชาติ จากการที่ออกมาปกป้องกองทัพที่ใช้จ่ายเงินในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา "เราจะไม่เห็นรัฐบาลอภิสิทธิ์เจริญก้าวหน้าหลังจากกองทัพ เพราะมันเป็นผลประโยชน์ในตำแหน่งของเขา" ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิทยาศาสตร์การเมืองกล่าว[57][58]

กรณีสิทธิบัตรยา

อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[59]

การออกกฎหมาย

พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[60] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์.[61]

การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

การตรวจตราความเลวร้ายภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[62] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[63]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[64]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อภิสิทธิ์แต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประท้วงประเทศกัมพูชาที่กระตุ้นให้บรรยากาศต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรดำเนินไปข้างหน้า ความสัคัญลำดับแรกในการแต่งตั้งเขา กษิตเคยเรียกสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ว่า "นักเลง" (ต่อมานายกษิตให้ความหมายว่านักเลง หมายถึง เป็นคนที่ใจกล้า เป็นสุภาพบุรุษที่กล้าหาญและใจกว้าง) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพกัมพูชาบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบริเวณใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่าได้สังหารทหารไทยไป 4 ศพและถูกจับกุมมากกว่า 10 คน ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาปฏิเสธว่าทหารไทยไม่ได้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บก็ตาม ทหารกัมพูชา 2 คนถูกสังหาร กองทัพทั้ง 2 ฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายยิงนัดแรกและรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนก่อน[65][66]

เช็คช่วยชาติ

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[67] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[68] อภิสิทธิ์ตอบรับวิกฤตเศรษฐกิจนี้โดยการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท (ประมาณ $75) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ประมาณ $500) [69]

การสั่งฟ้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

อภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะใช้หลักนิติรัฐและสั่งฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 21 คน ที่ต้องรับผิดชอบจากการยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่เดือนเมษายนหมายจับยังไม่ออก[70]

ความไม่สงบในช่วงสงกรานต์

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวหาผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้สั่งให้ทำการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 และยังกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องมนตรีว่ามีส่วนรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหารขึ้นเพื่อรับรองให้อภิสิทธิ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงจำนวน 100 คนจาก 1,000 คนในกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความต้องการให้อภิสิทธิ์ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และต้องการให้ พล.อ.เปรม สุรยุทธิ์ และชาญชัย ลาออกจากองคมนตรี[71] พ.ต.ท.ทักษิณเรียกร้องให้มีการปฏิวัติโดยประชาชนอย่างเปิดเผย เพื่อให้มีชัยชนะต่อชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ประท้วงเสื้อแดงนปช. ไปขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา ความรุนแรงจากการปะทะกันได้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มนปช.กับกลุ่มเสื้อน้ำเงินที่สนับสนุนรัฐบาล และมีรายงานว่ากลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ขว้างระเบิดมายังกลุ่มคนเสื้อแดง[72] ผู้ประท้วงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้การประชุมอาเซียนซัมมิทเป็นอันต้องยกเลิกไป ต่อมาอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยาและชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน[73] ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการรวมตัวกันมากกว่า 5 คนถูกห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวที่ยุยงให้เกิดความวิตกกังวล[74]

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นขึ้นนั้น ผู้ประท้วงได้ยกระดับการชุมนุมสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงใช้รถยนต์, รถเมล์ และรถบรรทุกแก๊ส LPG จอดขวางตามถนนหลายจุดในใจกลางกรุงเทพฯ การต่อสู้ได้ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาล, กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล และประชาชนทั่วไป การเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาว์เทเวศน์ มีผู้สนับสนุนพันธมิตรคนหนึ่งขับรถเข้าชนกลุ่มนปช. ก่อนที่จะขับรถหนีไป[75] อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อแดงยกระดับความตีงเครียดสูงขึ้นและกล่าวหาว่าผู้ที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นศัตรูของประเทศไทย[76] อภิสิทธิ์ยังได้ออกพระราชกำหนดมอบอำนาจให้รัฐบาลตรวจสอบการออกอากาศทางโทรทัศน์[77] ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นองเลือด พ.ต.ท. ทักษิณ เรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาแทรกแซงไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากัน[78]

ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ทหารไทยใช้แก๊สน้ำตาและปืนกลไฟสลายการชุมนุมจากแยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 70 คน[79] [80] ผู้ประท้วงที่สนับสนุนทหารถูกปืนยิงตาย 1 คน[81][82] ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสั่งให้ระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องดีสเตชัน และสมาชิกของกลุ่มนปช.ในเวลานั้น ถูกเผยแพร่ภาพที่มีการปะทะกันขึ้น และวิทยุชุมชนหลายแห่งถูกปิด[83] ความรุนแรงจากการปะทะมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำอีก 13 คน ต่อมาแกนนำนปช.เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 14 เมษายน ภายหลังจากที่ความรุนแรงได้สิ้นสุดลง[84] หลังจากนั้นไม่นาน อภิสิทธิ์ได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และออกหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 12 คน[85]

รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้จำนวนมากกว่า 120 คนเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มนปช.[86] ทางกลุ่มนปช.ประกาศว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและถูกทหารนำศพไปโยนทิ้ง รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ มีจำนวนกลุ่มนปช.ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนที่ดินแดง ถึงแม้ว่ากองทัพจะออกมาปฏิเสธ[87] อภิสิทธิ์มอบหมายให้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกมายืนยันว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลถูกเสื้อแดงยิงตาย 2 คนที่ดินแดง[88] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประมาณมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงรถเมล์ที่ถูกเผาจำนวน 31 คัน[89]

ผลงานหนังสือ

  • มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9
  • การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8
  • เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5
  • ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4

เกียรติยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ

  • พ.ศ. 2535 : 1 ใน 100 ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้, โดย World Economic Forum (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)
  • พ.ศ. 2540 : 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเซีย, โดย นิตยสารไทม์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540, “เสียงใหม่ๆ เพื่อเอเซียใหม่”
  • พ.ศ. 2542 : 1 ใน 20 ผู้นำสำหรับสหัสวรรษ ด้านการเมือง, โดย นิตยสารเอเซียวีค 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ 1)
  2. พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ 2)
  3. บารมีพ่อ, ไทยรัฐ, 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  4. เก็บตกการเมือง, คมชัดลึก, 2 มีนาคม พ.ศ. 2549
  5. ชีวประวัติ จากเว็บไซต์ส่วนตัว
  6. 6.0 6.1 หนังสือ มาร์ค...เขาชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  7. ตัวอย่างการเรียกอภิสิทธิ์ ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" โดย นสพ.คมชัดลึก
  8. นามสกุลพระราชทาน หมวด ว.แหวน
  9. 9.0 9.1 ซัด 'อภิสิทธิ์' หนีทหาร ข่าวจากไทยรัฐ 9 ก.ค. 50
  10. วีระเตรียมแฉอภิสิทธิ์หนีทหาร วิ่งเต้นเป็นอาจารย์รร.จปร.
  11. จดหมายเปิดผนึกถึงพรรคประชาธิปัตย์ (กระทู้เก็บถาวร จากพันทิปดอตคอม)
  12. อภิสิทธิ์หนีทหาร ข้าราชการชาย ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารจริงหรือ
  13. แนวหน้า-วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542
  14. ไทยโพสต์ - วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542
  15. อภิสิทธิ์แจงกรณีไม่เกณฑ์ทหาร
  16. ๑ ปี หลัง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
  17. ๒ ปีกับรัฐมนตรี...อภิสิทธิ์
  18. 18.0 18.1 Bangkok's Independent Newspaper The Nation
  19. The Nation, OAG proposes dissolution of Democrat, Thai Rak Thai, 3 other parties, 27 June 2006
  20. The Nation, 2 February 2007
  21. The Nation, Witnesses link Democrats to registration delay, 23 February 2007
  22. The Nation, Historical rulings unfold, 30 May 2007
  23. The Left/Right Debate Thai Tribunal: Democrat Party Cleared Of Electoral Violations (Nasdaq), 30 May 2007
  24. Abhisit vows fresh start, honest govt The Nation, 30 April 2006
  25. http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7780309.stm BBC Profile
  26. Abhisit announces candidacy for PM The Nation, 29 April 2006
  27. Can Abhisit lead Thailand? The Nation, 30 May 2006
  28. Abhisit pressures PM to TV debate The Nation, 7 August 2006
  29. Time Magazine [1] Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
  30. Time Magazine, Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
  31. "Thailand's king officially endorses new prime minister", Associated Press (Taipei Times), 30 January 2008.
  32. Somchai elected new prime minister The Nation
  33. The Telegraph, Thai army to 'help voters love' the government, 18 December 2008
  34. Democrats claim majority to form government The Nation, 7 December 2008
  35. Newin embraces Abhisit, but rejecting Thaksin "was tough" The Nation, 10 December 2008
  36. Abhisit poised to be PM as democrats seek house vote The Nation, 8 December 2008
  37. Thai opposition 'set for power' BBC News, 10 December 2008
  38. "New Thai prime minister elected". BBC news. 05:53 GMT, Monday, 15 December 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  39. The Nation, Question loom over new Prime Minister's legitimacy, 17 December 2008
  40. AsiaNews.IT, Abhisit Vejjajiva is the new prime minister of Thailand, 15 December 2008
  41. "ในหลวง" ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่งตั้ง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกฯคนที่ 27 แล้ว เว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
  42. Asia One, [http://news.asiaone.com/News/Latest%2BNews/Asia/Story/A1Story20081221-109415.html Finance minister from Thai elite faces raft of economic woes ], 21 December 2008
  43. Far Eastern Economic Review, New Thai Prime Minister Says People Must Wait for Democracy, 24 January 2008
  44. BBC, Thai PM rules out cabinet deals, 18 December 2008
  45. Bangkok Post, PM's text message an 'invasion of privacy', 19 December 2008
  46. Asia News, [2], 19 December 2009
  47. Bangkok Post, [3], 20 January 2009
  48. The Nation, [4], 21 January 2009
  49. The Nation, Thailand 'happy to cooperate', but Army plays dumb on detainees, 22 January 2009
  50. Al Jazeera, Thais admit boat people set adrift, 27 January 2009
  51. ABC, Thailand promises army-led probe of Rohingya scandal, 29 January 2009
  52. Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army, 26 January 2009
  53. The Nation, Don't believe what the world says about Rohingya, 4 February 2009
  54. Matichon, "กษิต"เมินซีเอ็นเอ็นตีข่าวโรฮิงญา ยันยึดสิทธิมนุษยชน , 27 January 2009
  55. The Nation, UNHCR warned over Angelina Jolie's criticism on Rohingya
  56. The Nation, Thai govt warns Jolie and UNHCR over comments on Rohingyas, 11 February 2009
  57. Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army 26 January 2009
  58. Bangkok Post, Military Obligation: Thai PM's Baggage Confronts His Political Inheritance, 30 January 2009
  59. Bangkok Post, [5], 5 March 2009
  60. The Nation, Democrats propose law to crack down on lese majeste, 19 November 2008
  61. The Nation, List of 29 controversial websites
  62. The Telegraph, Thailand analysis: 'land of smiles' becomes land of lies, 5 April 2009
  63. Telegraph, Ten years jail for "insulting" Thai king, 3 April 2009
  64. The Nation, Better ways to save thai online freedom, 6 April 2009
  65. The Telegraph, Troops from Thailand and Cambodia fight on border, 3 April 2009
  66. Bloomberg, Thai, Cambodian Border Fighting Stops, Thailand Says, 3 April 2009
  67. MCOT, Thailand's January unemployment soars to 880,000, 17 March 2009
  68. MCOT, Thai economy to contract 4.5-5 per cent: Finance Minister, 16 April 2009
  69. MCOT, Bt2,000 cheque dispersals end at Bangkok City Hall, 28 March 2009
  70. The Malaysian Insider, Thousands of Thaksin supporters rally against Thai government, 15 April 2009
  71. The Telegraph, Thai protesters bring Bangkok to a halt, 8 April 2009
  72. Nirmal Ghosh, “Live: Flashpoint Pattaya,” Straits Times, 11 April 2009
  73. New York Times, Thailand’s Failed Experiment?, 16 April 2009
  74. MCOT, Armour, troops on streets; Gunfire in scuffle after PM declares emergency, 12 April 2009
  75. MCOT, Hit-and-run driver plunges car into UDD protesters, 9 April 2009
  76. The Age, Sacrificing democracy won't end Thailand's chaos, 15 April 2009
  77. Committee to Protect Journalists, Thai government issues censorship decree, 14 April 2009
  78. The Economist, The trouble with the king, 16 April 2009
  79. The Times, Abhisit Vejjajiva won the media battle but the hardest job is yet to come,14 April 2009
  80. The Times, Thai troops open fire on protesters in Bangkok 13 April 2009
  81. Bangkok Post, “Red in retreat,” 14 April 2009
  82. Bangkok Post, “Red revolt,” 14 April 2009
  83. MCOT, Community radio stations ordered to close temporarily, 16 April 2009
  84. The Guardian, Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence, 14 April 2009
  85. The Telegraph, [6]
  86. BBC News, “Army pressure ends Thai protest,” 14 April 2009
  87. Bangkok Pundit, “It Begins,” 13 April 2009
  88. The Nation, One shot dead by red-shirted protesters
  89. MCOT, Bt10 million BMA property damage from protest; religious rites to be held, 16 April 2009

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. QUESTION MARK. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-6230-4
  • ศิริกานดา ศรีชลัมภ์. คือความคิด คือชีวิต คือ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. กรุงเทพฯ : กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547. ISBN 978-974-92093-3-2
  • สมจิตต์ นวเครือสุนทร. ใครว่าผม "อภิสิทธิ์" ?. กรุงเทพฯ : 2550. ISBN 978-974-09-0492-2
  • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย. ๒ ปี กับรัฐมนตรี... อภิสิทธิ์. กรุงเทพฯ : 2543.
ก่อนหน้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถัดไป
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรี
(17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)
ยังดำรงตำแหน่ง
บัญญัติ บรรทัดฐาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(23 เมษายน พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง
(รักษาการ)
โภคิน พลกุล
ชิงชัย มงคลธรรม
ปิยะณัฐ วัชราภรณ์
วีระกร คำประกอบ
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รักเกียรติ สุขธนะ
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
จาตุรนต์ ฉายแสง
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สมศักดิ์ เทพสุทิน
กระแส ชนะวงศ์
บัญญัติ บรรทัดฐาน ไฟล์:Democrat Party logo.png
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(5 มีนาคม พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ยังดำรงตำแหน่ง

แม่แบบ:คณะรัฐมนตรีเงาคณะที่ 1 ของไทย