ข้ามไปเนื้อหา

สมัน (อาหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
สมัน
ชื่ออื่นซามา
ประเภทเครื่องโรยหน้า
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภูมิภาคปตานี
ส่วนผสมหลักเนื้อกุ้ง, เนื้อปลา, ส้มแขก, กะทิ, พริกแห้ง, หอมแดง, กระเทียม, น้ำตาลแว่น, มะพร้าวคั่ว, เกลือ

สมัน หรือ ซามา ในภาษามลายูปัตตานี เป็นเครื่องโรยหน้าชนิดหนึ่งของไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส โดยจะรับประทานเคียงเป็นหน้าข้าวเหนียว ข้าวเหนียวมูน ต่างไส้ขนมปัง เคียงกับนาซิดาแฆ[1] นาซิตีแนะ[2] หรือโรยหน้าขนมกอและลือเมาะ[3] มีลักษณะและหน้าที่อย่างเดียวกันกับกระฉีก หากแต่กระฉีกจะมีรสชาติหวานมันและใช้มะพร้าวขูดเป็นวัตถุดิบหลัก[4] สมันมีสองรูปแบบหลักคือ สมันกุ้ง (หรือ ซามาอูแด) กับสมันปลา (หรือ ซามาอีแก) และยังมีสมันรูปแบบอื่นตามวัตถุดิบหลัก ถือเป็นอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาได้นานแรมเดือน และกลายเป็นหนึ่งในเสบียงกรังสำหรับชาวมุสลิมที่ไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ในยุคก่อน

โดยวิธีการทำสมัน จะนำกระเทียม หอมแดง พริกแห้ง (บ้างก็ไม่ใส่พริก) ตำ (หรือปั่น) พอละเอียดแล้วใส่กะทิ ทำเป็นพริกแกง ส่วนเนื้อกุ้งและเนื้อปลานำมาตำ (หรือปั่น) ให้ละเอียดเช่นกัน จากนั้นให้นำพริกแกงมาผัดในกระทะจนหอม แล้วใส่เนื้อกุ้งและปลาที่ละเอียดแล้ว และใส่ส้มแขกลงไป จากปรุงรสด้วยน้ำตาลแว่นและเกลือ ผัดให้แห้งราวหนึ่งชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ[3][5] สมันบางสูตรอาจใช้มะพร้าวคั่ว เนื้อปลาย่าง หอมแดง ตะไคร้ เกลือ และน้ำตาล เป็นวัตถุดิบหลัก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "นาซิดาแฆ". Pattani Heritage City. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 พุมรี อรรถรัฐเสถียร (มกราคม–เมษายน 2553). อาหารพื้นเมืองปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 98.
  3. 3.0 3.1 "ขนมกอเละเลอเมาะ กอเละซามา". Pattani Heritage City. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ขนมใส่ไส้ประยุกต์". Phol Food Mafia. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สมันปลา (ซามาอีแก)". Cookpad. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)