ข้ามไปเนื้อหา

เซอจาระฮ์เมอลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอจาระฮ์เมอลายู
(พงศาวลีมลายู) *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ส่วนหน้าของ เซอจาระฮ์เมอลายู ฉบับอักษรยาวี
ที่เก็บรักษาสถาบันภาษาและวรรณกรรม (มาเลเซีย)
ประเทศ มาเลเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2001
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เซอจาระฮ์เมอลายู (มลายู: Sejarah Melayu, سجاره ملايو) มีชื่อดั้งเดิมว่า ซูลาลาตุซซาลาติน (Sulalatus Salatin, แปลว่า พระราชพงศาวลีพระมหากษัตริย์)[1] เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่ผ่านการแต่งให้สวยงาม (romanticised) เกี่ยวกับต้นกำเนิด วิวัฒนาการ และการล่มสลายของรัฐสุลต่านมะละกา[2] ผลงานนี้แต่งขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 โดยถือเป็นวรรณกรรมและผลงานทางประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งในภาษามลายู[3]

ตัวบทดั้งเดิมใน เซอจาระฮ์เมอลายู ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยฉบับแรกสุดสืบไปถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1612 ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการเขียนใหม่ตามบัญชาของยังดีเปอร์ตวน ดีฮีลีร์ ราจาอับดุลละฮ์ อุปราชแห่งยะโฮร์ในขณะนั้น[4][5] เดิมเขียนบนกระดาษเป็นภาษามลายูคลาสสิกโดยใช้อักษรยาวีเก่า แต่ปัจจุบันมีเอกสารตัวเขียนถึง 32 แบบ โดยรวมถึงฉบับอักษรรูมี[6] นักประวัติศาสตร์มองว่าตัวบทของ เซอจาระฮ์เมอลายู เป็นแหล่งปฐมภูมิที่เล่าข้อมูลเหตุการณ์ในอดีตที่ตรวจสอบได้จากแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในโลกมลายู แม้จะมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับสิ่งลึกลับก็ตาม[7] ใน ค.ศ. 2001 เซอจาระฮ์เมอลายู ได้รับการบรรจุเป็นความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก[8]

ประวัติการรวบรวม[แก้]

ต้นฉบับพงศาวดารมลายูและตำราที่เกี่ยวข้องมีจำนวนค่อนข้างมาก ต้นฉบับพบกระจายอยู่ทั่วห้องสมุดในประเทศต่างๆ: ในมาเลเซีย (Dewan Bahasa dan Pustaka)[9] ในอินโดนีเซีย (จาการ์ตา พิพิธภัณฑ์ Pusat) ในสหราชอาณาจักร (ส่วนใหญ่ในลอนดอน) ในเนเธอร์แลนด์ (ไลเดน)[10] ต้นฉบับเหล่านี้ไม่ใช่ทั้งหมดจะมีคุณค่าเหมือนกัน บางส่วนไม่เป็นชิ้นเป็นอันหรือไม่สมบูรณ์ บางส่วนเป็นเพียงสำเนาของต้นฉบับที่มีอยู่ และบางส่วนก็เป็นสำเนาของข้อความที่พิมพ์ด้วยซ้ำ เวอร์ชันของ Annals ลงวันที่ ค.ศ. 1612 ซึ่งเซอร์สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ได้มา และมีรหัส Raffles MS no.18 หรือ Raffles Manuscript 18 ถือเป็นฉบับที่เก่าแก่และซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับมากที่สุด[11]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Abdul Samad Ahmad (1979), Sulalatus Salatin, Dewan Bahasa dan Pustaka, ISBN 978-983-62-5601-0, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2013
  • Asmah Haji Omar (2004), The Encyclopedia of Malaysia: Languages & Literature, Editions Didlers Millet, ISBN 978-981-3018-52-5
  • Australian National University, Malay Concordance Project
  • Encyclopædia Britannica (2014), Sejarah Melayu
  • Harper, Timothy Norman (2001), The End of Empire and the Making of Malaya, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-00465-7
  • Kheng, Cheah Boon (1998), Sejarah Melayu The Malay Annals MS RAFFLES No. 18 Edisi Rumi Baru/New Romanised Edition, Academic Art & Printing Services Sdn. Bhd.
  • Leyden, John (1821), Malay Annals (translated from the Malay language), Longman, Hurst, Rees, Orme and Brown
  • Ooi, Keat Gin (2009), Historical Dictionary of Malaysia, Scarecrow Press, ISBN 978-0-8108-5955-5
  • Perpustakaan Negara Malaysia (2013), Sulalatus Salatin: Karya Agung Melayu di Institusi Simpanan Dunia (PDF), Dewan Bahasa dan Pustaka, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2014
  • Riddell, Peter C. "Malay Annals" in Kelly Boyd, บ.ก. (1999). Encyclopedia of Historians and Historical Writing vol 2. Taylor & Francis. pp. 756–57. ISBN 9781884964336.; Historiography.
  • Roolvink, Roelof (1967), The Variant Version of The Malay Annals (PDF)
  • Sabrizain, Sejarah Melayu – A History of The Malay Peninsula
  • Siti Hawa Hj. Salleh (2010), Malay Literature of the 19th Century, Institut Terjemahan Negara Malaysia, ISBN 978-983-068-517-5
  • UNESCO (2001), Memory of the World: Sejarah Melayu (The Malay Annals)
  • UNESCO (2012), Memory of the World: The treasures that record our history from 1700 BC to the present day, Collins, ISBN 978-0-00-748279-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]