ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น อัลดริดจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น อัลดริดจ์
อัลดริดจ์ในปี 2023
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จอห์น วิลเลียม อัลดริดจ์
วันเกิด (1958-09-18) 18 กันยายน ค.ศ. 1958 (65 ปี)
สถานที่เกิด ลิเวอร์พูล, อังกฤษ
ส่วนสูง 5 ฟุต 11 นิ้ว (1.80 เมตร)[1]
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1978–1979 South Liverpool
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1979–1984 Newport County 170 (70)
1984–1987 Oxford United 114 (72)
1987–1989 Liverpool 83 (50)
1989–1991 Real Sociedad 63 (33)
1991–1998 Tranmere Rovers 243 (138)
รวม 673 (363)
ทีมชาติ
1986–1996 Republic of Ireland 69 (19)
จัดการทีม
1996–2001 Tranmere Rovers
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

จอห์น วิลเลียม อัลดริดจ์ (อังกฤษ: John William Aldridge, เกิด 18 กันยายน 1958) เป็นอดีตนักฟุตบอลอาชีพและผู้จัดการทีม เจ้าของฉายา อัลโด[2] เขาคือกองหน้าที่ทำประตูได้อย่างสม่ำเสมอและทำลายสถิติมากมาย เป็นที่รู้จักอย่างดีในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับลิเวอร์พูลในปลายทศวรรษ 1980 เขายิงประตูในฟุตบอลลีกไปทั้งหมด 330 ประตู ซึ่งเป็นอันดับที่ 6 ของดาวยิงสูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ[3]

เขาเริ่มต้นค้าแข้งจากลีกต่ำสุด ลงเล่นผ่านมาทุกระดับตั้งแต่ ดิวิชัน 4 (เดิม) จนถึง ดิวิชัน 1 (เดิม) ในช่วงแรก เขาถูกเซ็นสัญญามาร่วมทีมแทนที่เอียน รัชที่ย้ายไปร่วมทีมยูเวนตุส อัลดริดจ์ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 2 ฤดูกาลที่ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ลีกและเอฟเอคัพมาครองได้อย่างละ 1 สมัย และพลาดแชมป์ลีกอย่างหวุดหวิดอีก 1 สมัย อัลดริดจ์ลงเล่นให้เรอัลโซซิเอดัด 2 ฤดูกาล กลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ไม่ใช่ชาวบาสก์ที่เซ็นสัญญากับสโมสรในรอบหลายทศวรรษ หลังจากที่พวกเขายกเลิกนโยบายการสรรหาผู้เล่น ที่อนุญาตให้เซ็นสัญญาเฉพาะผู้เล่นที่มีเชื้อสายบาสก์เท่านั้น ในปี 1991 เขากลับมาอังกฤษเพื่อเล่นให้กับแทรนเมียร์โรเวอส์และกลายเป็นผู้เล่น–ผู้จัดการทีมของพวกเขาในปี 1996 เขาแขวนสตั๊ดในปี 1998 และลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 2001 และไม่กลับมาเป็นผู้จัดการทีมอีกนับตั้งแต่บัดนั้น

อัลดริดจ์เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูลโดยกำเนิด แต่เขาเลือกเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ ตามนโยบาย กฎคุณยาย ของแจ็ค ชาร์ลตัน ผู้จัดการทีมชาติไอร์แลนด์ในขณะนั้น เนื่องจากคุณยายทวดของเขาอพยพมาจากเมืองแอธโลน ประเทศไอร์แลนด์ มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลิเวอร์พูลในศตวรรษที่ 19[4][5] เขาประสบความสำเร็จกับทีมชาติไอร์แลนด์ ในช่วงที่ทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับนานาชาติ และเขาได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกถึง 2 สมัยคือปี 1990 และ 1994[6][7]

ระดับสโมสร

[แก้]

เซาท์ลิเวอร์พูลและนิวพอร์ตเคาน์ตี

[แก้]
อัลดริดจ์ขณะเล่นให้กับนิวพอร์ตเคาน์ตีในปี 1981

อัลดริดจ์ใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จในลีกสูงสุดของอังกฤษ เขาเริ่มต้นอาชีพในกลางทศวรรษ 1970 กับเซาท์ลิเวอร์พูล สโมสรนอกลีก ก่อนที่จะแจ้งเกิดในวงการฟุตบอลอาชีพ เขาเซ็นสัญญากับนิวพอร์ตเคาน์ตีในลีกดิวิชัน 4 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1979 ด้วยค่าตัวเพียง 3,500 ปอนด์ ในวัย 20 ปี

ขณะลงเล่นในโซเมอร์ตันพาร์ก สนามเหย้าของนิวพอร์ตเคาน์ตี อัลดริดจ์ลงเล่นทั้งสิ้น 198 นัดยิงได้ 87 ประตู คิดเป็นเฉลี่ย 1 ประตูต่อ 2.25 นัด นอกจากนี้เขายังทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในเอฟเอคัพ โดยยิงไป 7 ประตูจาก 12 นัด เขาร่วมทีมกับทอมมี ไทแนน และเดฟ กวิเทอร์ เป็นเวลา 4 ปี ช่วยให้นิวพอร์ตเลื่อนชั้นจากดิวิชัน 4 และคว้าแชมป์เวลช์คัพในฤดูกาลแรก และเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาลที่ 2

ฤดูกาลแรกของเขากับนิวพอร์ตคือในฤดูกาล 1979–80 เขายิงไป 14 ประตูจาก 38 นัดพาทีมคว้าแชมป์เวลช์คัพและเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 3 ในฤดูกาลถัดมา เขาพาทีมประสบความสำเร็จในฟุตบอลสโมสรยุโรป ในลีก เขาลงเล่นในลีกทั้งหมด 27 นัด และยิงได้ 7 ประตู ในฤดูกาล 1981–82 เขาทำได้ 11 ประตูจาก 36 นัด แต่ในฤดูกาล 1982–83 เขาทำผลงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วยการกดไป 17 ประตู จาก 41 นัด พาทีมเกือบเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 2[8]

ในฤดูกาล 1983–84 ทอมมี ไทแนน ออกจากทีม อัลดริดจ์ยิงไป 26 ประตู ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่นิวพอร์ตเคาน์ตียังคงอยู่ในดิวิชัน 3[9]

ออกซ์ฟอร์ดยูไนเต็ด

[แก้]

อัลดริดจ์ย้ายไปร่วมทีมออกซฟอร์ดยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1984[10] สโมสรอยู่ในช่วงเตรียมพร้อมสำหรับการลุ้นเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 3 ภายใต้การคุมทีมของจิม สมิธ เขาประเดิมสนามเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1984 ในฐานะตัวสำรองในเกมที่เอาชนะวอลซอลล์ 1–0 ที่เฟลโลว์สปาร์ค เขาทำประตูแรกในนัดที่ทีมเปิดบ้านเอาชนะโบลตันวอนเดอเรอส์ 5–0 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 1984 ในฤดูกาล 1984–85 เขาทำได้ 34 ประตู (30 ประตูในลีก) ซึ่งทำลายสถิติการยิงประตูสูงสุดของสโมสรในฤดูกาลเดียว[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dunk, Peter, บ.ก. (1987). Rothmans Football Yearbook 1987–88. London: Queen Anne Press. p. 222. ISBN 978-0-356-14354-5.
  2. Quinn, Philip (6 November 2000). "Irate Aldo refutes phoney Irish claim". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 15 July 2024.
  3. England – All-Time Topscorers – All Football League Divisions (and Premiership) rsssf.org, retrieved 2 April 2011
  4. "Irish Football and the 'Granny Rule'". www.soccer-ireland.com. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
  5. Hilton, Nick (18 March 2011). "Shamrock Scousers: Liverpool FC hero John Aldridge recalls his happiness playing international football for Ireland". Liverpool Echo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
  6. Byrne, Peter. "Magical memories of Italia '90 linger still". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
  7. "Daniel McDonnell: Ireland's Generation Game - How the post Italia '90 class are finally making their mark". independent (ภาษาอังกฤษ). 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
  8. "John Aldridge". สืบค้นเมื่อ 2 September 2010.
  9. "Newport County A-Z of transfers".
  10. "John Aldridge History with Oxford United".
  11. "Oxford United Club Records".