ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอังคาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ganga999devi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 22 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 7 คน)
บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล เทวดา
| ไฟล์ภาพ = Angraka graha.JPG
| คำอธิบายภาพ = พระอังคารอย่าง ในคติอินเดีย ทรงกระบอง,คทา ทรงแพะเป็นพาหนะ
| พระนาม = พระอังคาร
| ภาษาแม่ = เทวนาครี
| ชื่อในภาษาแม่ = मंगल หรือ मङ्गल
| god_of = เทพแห่งดาวอังคาร การสงคราม กษัตริย์ ผู้นำ นักรบ ความกล้าหาญ พลังงาน ความมั่นใจในตัวเอง ความแข็งแกร่ง ความโกรธ ความหุนหันพลันแล่น การรุกราน โลหิต
| จำพวก = เทวดานพเคราะห์
| เทวพาหนะ = แพะ,แกะ,โค,กระบือ,หงส์,เสือ,ราชรถสีแดงเทียมม้าสีแดง 10๑๐ ตัว
| ดาวพระเคราะห์ = มังคลโลก ([[ดาวอังคาร]]) [[ภาพ:MangalMars symbol (fixed width).pngsvg|1516px|]]
| อาวุธ = หอก,ตรีศูล,คทา,กระบอง,ดาบ,โล่,ดอกบัว,ขวาน,ธนู,ศร ฯลฯ
|บิดา=[[พระศิวะ]]|มารดา=[[พระธรณีภูเทวี]]|consort=[[ชวาลาจี|พระนางชวาลินี]]<ref>https://www.epoojastore.in/index.php?route=news/article&news_id=1137</ref><ref>https://ombeejmantra.com/mangal-beej-mantra/</ref> |child=วิสันตราวี ([[วานรสิบแปดมงกุฎ]]ในรามเกียติ์)
}}
 
'''พระอังคาร''' ([[เทวนาครี]]: मंगल ''มํคล'' หรือ मङ्गल ''มงฺคล'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระอังคารถูกสร้างขึ้นมาจาก[[พระศิวะ]]ทรงนำมหิงสากระบือ ([[ควาย]]) ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้า[[สีชมพู]]เข้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระอังคาร มีพระวรกายสีชมพู ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงมหิงสากระบือ (กระบือควาย) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงถึงอักษรวรรค จะ (จ ฉ ช ฌ ญ) เรียกว่า สีหนาม ในไตรภูมิพระร่วง พระอังคารมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ วิมานใหญ่ ๑๕ โยชน์ รัศมีแดง
 
ในคติฮินดู พระอังคาร มีนามว่า พระมังคละ หรือ พระมงคล ถือกำเนิดจากเหงื่อหรือเลือดของ[[พระศิวะ]]ที่ทรงหยดลงในขณะทรงพระพิโรธกับการต่อสู้กับอันธกาสูร และพระแม่ธรณีได้รองรับไว้ กำเนิดเป็นกุมารกายสีแดงโลหิต มี ๔ กร บ้างก็ว่าเป็นบุตรของพระแม่ธรณีกับ[[พระวิษณุ]]ในร่างพระวราหาวตาร เดิมมีนามว่า พระเภามะ พระเภามะได้เริ่มการบูชาพระศิวะ จนพระศิวะพอพระทัย และแต่งตั้งให้เป็นเทวดานพเคราะห์ อีกตำนานเล่าว่า พระมังคละ มีนามว่า พระโลหิตางค์ เกิดจากเหงื่อของพระศิวะในขณะที่ทรงสอนการร่ายรำตาณฑวะแก่นาฏยาจารย์ พระแม่ธรณีได้รองรับไว้ และยกกุมารนี้ให้[[อันธกาสูร]] พระโลหิตางค์ ได้ร่ำเรียนวิชากับนาฏยาจารย์ ต่อมาอันธกาสูรถูกพระศิวะสังหาร นางวฤษภานุ มเหสีของอันธกาสูรได้ยุยงให้พระโลหิตางค์ รบกับพระศิวะ พระโลหิตางค์ประชันดนตรีกับพระศิวะ และพ่ายแพ้ไป พระโลหิตางค์ได้สำนึกผิดและขอขมา พระศิวะทรงให้พรและแต่งตั้งให้เป็นเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวอังคาร ซึ่งอยู่ใกล้กับโลก เป็นเทพแห่งสงคราม การสู้รบ เป็นเทพผู้มอบพรแก่เหล่ากษัตริย์และนักรบ
 
ลักษณะของพระอังคาร ในคติไทย เป็นเทพบุรุษมีกายสีชมพู มี ๔ กร ทรงหอก, ตรีศูล, กระบองและศรเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้า ทัดดอกไม้สีแดง สวมอาภรณ์สีแดงและสีม่วง ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงกระบือเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษมีกายสีแดงดังโลหิต รูปร่างสูงใหญ่ กำยำล่ำสัน เอวเล็ก นัยน์ตาสีแดงดังเลือด มี ๔ กร ทรงหอก ตรีศูล คทา ดอกบัว ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ รัศมีสีแดงโลหิต สวมอาภรณ์สีแดง ทรงเครื่องประดับด้วยทองแดงและแก้วโกเมน ทรงแพะเป็นพาหนะ พระอังคาร ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระมังคละ,พระเภามะ,พระโลหิตางค์,พระอังคารกะ,พระรักตวรรณ,พระกุชะ,พระภูมิบุตร,พระภูมิสุตะ,พระมหาวีระ,พระมหาศูระ,พระมหาเราทระ,พระมหาภัทระ ฯลฯ
 
[[ไฟล์:Mangala (Mars).jpg|thumb|พระอังคารขี่โค]]
พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีอารมณ์มักโกรธ มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ขยัน อดทน ไม่ยอมคน ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับ[[พระศุกร์]] และเป็นศัตรูกับ[[พระอาทิตย์]]
 
พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีอารมณ์มักโกรธ มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ขยัน อดทน ไม่ยอมคน ใจร้อน แต่กล้าหาญ ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับ[[พระศุกร์]] และเป็นศัตรูกับ[[พระอาทิตย์]] เรื่องมีอยู่ว่า พระอังคารเกิดเป็นกบ [[พระเสาร์]]เกิดเป็นงู [[พระศุกร์]]เกิดเป็นรุกขเทวดา งูได้ไล่จับกบกินเป็นอาหาร กบได้หนีมาหลบใต้ต้นไม้ รุกขเทวดารู้สึกสงสารกบ จึงสำแดงฤทธิ์ไล่งูไป ตั้งแต่นั้น พระอังคารจึงเป็นมิตรกับพระศุกร์ ส่วนพระเสาร์เป็นศัตรูกับพระศุกร์ ส่วนเรื่องพระอังคารเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์นั้น ครั้งหนึ่ง พระอังคารเกิดเป็นวิทยาธร [[พระพฤหัสบดี]]เกิดเป็นอาจารย์[[ทิศาปาโมกข์]] [[พระอาทิตย์]]เกิดเป็นมานพหนุ่ม [[พระจันทร์]]เกิดเป็นบุตรีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มานพหนุ่มได้มาเล่าเรียนวิชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จนสำเร็จวิชา อาจารย์จึงยกบุตรีให้ และให้ใส่นางไว้ในผอบทองเพื่อจะได้ปลอดภัย วันหนึ่งมานพไปหาผลไม้ในป่า วิทยาธรได้ลักลอบมาเป็นชู้กับบุตรีอาจารย์ อาจารย์เข้าฌานและได้เห็นความประพฤติชั่วของบุตรี จึงคิดอุบายขึ้นมา วันหนึ่งมานพกลับมาเยี่ยมอาจารย์ อาจารย์ได้หยิบเซี่ยนหมากออกมารับรองไว้สองเซี่ยน มานพเห็นผิดธรรมเนียมจึงไต่ถาม อาจารย์จึงให้รีบกลับไปที่เรือนและเปิดผอบดูเถิด เมื่อมานพหนุ่มกลับมา เปิดผอบพบนางผู้เป็นภรรยาเป็นชู้กับวิทยาธร วิทยาธรเห็นดังนั้นก็ตกใจ หยิบพระขรรค์ฟันศีรษะมานพหนุ่ม ส่วนมานพขว้างจักรเพชรไป ถูกขาวิทยาธรขาด ตั้งแต่นั้น พระอังคารจึงเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ ส่วนพระจันทร์เป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี และพระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี จากตำนานนี้ผู้ใดที่เกิดวันอังคารแล้วพระศุกร์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะมีมิตรสหายเกื้อหนุน ได้ลาภยศทรัพย์สินเงินทอง รอดพ้นภัยพาล หากพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับขา ขาหัก ข้อเท้าพลิก หรือมีอาการเจ็บปากเจ็บคอ
ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ [[ปางไสยาสน์]] และภายหลังมี [[ปางลีลา]] เพิ่มอีกหนึ่งปาง
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๓ (เลขสามไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสาจากกระบือ ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ [[ปางไสยาสน์]] และภายหลังมี [[ปางลีลา]] เพิ่มอีกหนึ่งปาง
 
เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอังคารเทียบได้กับ[[แอรีส]]ของเทพปกรณัมกรีก และ[[มาร์ส]]ของเทพปกรณัมโรมัน ซึ่งทั้งคู่ก็เป็นเทพแห่งสงครามเช่นเดียวกัน
เส้น 33 ⟶ 36:
 
[[หมวดหมู่:โหราศาสตร์|พระอังคาร]]
[[หมวดหมู่:เทวดานพเคราะห์|อังคาร]]
[[หมวดหมู่:เทพแห่งสงคราม]]