ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไลกา (สุนัข)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ptbotgourou (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: kk:Лайка (ғарышкер ит)
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-<references/> +{{รายการอ้างอิง}}) ด้วยบอต
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
<references/>


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:14, 5 พฤษภาคม 2553

ไลก้า

ไลก้า (อังกฤษ: Laika; รัสเซีย: Лайка) เป็นชื่อของสุนัขตัวแรกของโลกที่เดินทางไปกับยานอวกาศสปุตนิก 2 ของโซเวียต ขึ้นไปในวงโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 หนึ่งเดือนหลังการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500

ไลก้าเป็นสุนัขเพศเมีย เดิมชื่อว่า Kudryavka (รัสเซีย: кудрявка) เป็นสุนัขข้างถนนที่ถูกพบในกรุงมอสโก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นไลก้า ตามชื่อพันธุ์สุนัขที่ใช้ล่าสัตว์ในรัสเซีย ไซบีเรีย และสแกนดิเนเวีย ไลก้าเป็นสุนัขหนึ่งในสามตัวที่ได้รับการฝึกสำหรับปฏิบัติภารกิจนี้ อีกสองตัว มีชื่อว่า Albina และ Mushka

สาเหตุการตาย

หลังจากสปุตนิก 2 เข้าสู่วงโคจรแล้ว ทางการโซเวียตแถลงว่าภารกิจนี้จะไม่มีการนำไลก้ากลับมายังพื้นโลก มันจะต้องตายในอวกาศ หลังจากนั้นทางการโซเวียตแถลงว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศนานถึงสี่วัน ก่อนจะตายอย่างสงบ ยานอวกาศสปุตนิก 2 โคจรรอบโลกเป็นจำนวน 2,570 รอบ ก่อนจะตกลงสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2501

สาเหตุการตายของไลก้าถูกปกปิดเป็นความลับเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งมีการเปิดเผยโดย Dimitri Malashenkov แห่ง Institute for Biological Problems กรุงมอสโคว์ เมื่อเร็วๆ นี้ [1] ระบุว่าหลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศไม่นาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง แสดงให้เห็นว่าไลก้ามีความเครียดสูง จากนั้นระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ประมาณ 5-7 ชั่วโมง หลังจากเริ่มปล่อยยาน [2]

อย่างไรก็ตาม การที่มันสามารถมีชีวิตอยู่ในอวกาศ ในสภาวะไร้น้ำหนักในช่วงแรกของการเดินทาง และข้อมูลที่ตรวจวัดได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการสำรวจอวกาศ ด้วยนักบินอวกาศในเวลาต่อมา

หลังจากการส่งสปุตนิก 2 โซเวียตได้ส่งสุนัขขึ้นไปในอวกาศอีกครั้ง กับยานอวกาศสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2503 พร้อมกับสุนัขพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka, Белка) และ สเตรลก้า (Strelka, Стрелка) กับหนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากาศโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2503 หลังจากนั้น สเตรลก้า มีลูกครอกหนึ่ง ทางการโซเวียตได้จัดส่งลูกของสเตรลก้า ให้เป็นของขวัญแก่ แจกเกอลีน เคนเนดี ภริยาประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA

แม่แบบ:Link FA