ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แยกคอกวัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปังคุง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[Image:14Oct1972 Memorial P3160011.JPG|thumb|สี่แยกคอกวัว]]
'''สี่แยกคอกวัว''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Khok Wua Intersection) เป็น จุดตัดระหว่าง[[ถนนราชดำเนินกลาง]] และ[[ถนนตะนาว]]ใน[[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''สี่แยกคอกวัว''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Khok Wua Intersection) เป็น จุดตัดระหว่าง[[ถนนราชดำเนินกลาง]] และ[[ถนนตะนาว]]ใน[[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:20, 17 กุมภาพันธ์ 2551

สี่แยกคอกวัว

สี่แยกคอกวัว (อังกฤษ: Khok Wua Intersection) เป็น จุดตัดระหว่างถนนราชดำเนินกลาง และถนนตะนาวในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เดิมเคยเป็นที่เลี้ยงวัวของแขกฮินดู ตั้งแต่บริเวณสี่แยกคอกวัวปัจจุบัน (ความปรากฏอยู่ในบทละครล้อเลียนเรื่อง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) ในสมัยรัชกาลที่ 3) จนไปถึงบริเวณคลองมอญ ในภายหลังเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (ปัจจุบันย้ายอยู่บริเวณริมถนนพหลโยธิน ใกล้สี่แยกสะพานควาย) นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ทำการของสถานีวิทยุ ททท. บริษัทไทยโทรทัศน์

ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงถูกรื้อทำลายอาคารทั้งหมด ปล่อยว่างอยู่นาน กระทั่งได้สร้างอนุสาวรีย์วีรชน ดังปรากฏโดดเด่นอยู่ในปัจจุบันนี้

สี่แยกคอกวัว นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของมวลชน (นอกเหนือจากสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ที่จะรวมตัวเดินขบวนประท้วง ในภาวะวิกฤตทางสังคมการเมืองของไทย ทั้งเมื่อ พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2535