ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แยกคอกวัว"

พิกัด: 13°45′26″N 100°29′56″E / 13.757266°N 100.498958°E / 13.757266; 100.498958
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
LR0725 (คุย | ส่วนร่วม)
(GR) File renamed: File:14Oct1972 Memorial P3160011.JPGFile:14Oct1973 Memorial P3160011.jpg Criterion 3 (obvious error) · Uploader has corrected the information in Infobox, but did not properly request file rename to correct the error.
 
(ไม่แสดง 5 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 3 คน)
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
|type = 3
|type = 3
|pattern = X
|pattern = X
|image = 14Oct1972 Memorial P3160011.JPG
|image = 14Oct1973 Memorial P3160011.jpg
|ID = [[รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร|N003 (ESRI), 079 (กทม.)]]
|ID = [[รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร|N003 (ESRI), 079 (กทม.)]]
|location = แขวงบวรนิเวศและแขวงตลาดยอด [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
|location = แขวงบวรนิเวศและแขวงตลาดยอด [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
}}
}}


'''แยกคอกวัว''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Khok Wua Intersection) เป็น[[สี่แยก]]ที่เป็นจุดตัดระหว่าง[[ถนนราชดำเนินกลาง]]กับ[[ถนนตะนาว]] ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ และแขวงตลาดยอด [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''แยกคอกวัว''' เป็น[[สี่แยก]]ที่เป็นจุดตัดระหว่าง[[ถนนราชดำเนินกลาง]]กับ[[ถนนตะนาว]] ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ และแขวงตลาดยอด [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]]


==ประวัติ==
==ประวัติ==
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
ในบริเวณแยกคอกวัวยังเคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น [[ธนาคารออมสิน]] สำนักงานใหญ่ (ปัจจุบันย้ายอยู่บริเวณริม[[ถนนพหลโยธิน]] ใกล้[[แยกสะพานควาย]]) นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ทำการของสถานีวิทยุ ททท. [[อสมท | บริษัทไทยโทรทัศน์]] ซึ่งต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] จึงถูกรื้อทำลายอาคารทั้งหมด ปล่อยว่างอยู่นาน กระทั่งได้สร้าง[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา|อนุสาวรีย์สถาน]] ทางฝั่งถนนตะนาวที่มุ่งหน้าไปยังย่านบางลำพู ดังปรากฏโดดเด่นอยู่ในปัจจุบันนี้
ในบริเวณแยกคอกวัวยังเคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น [[ธนาคารออมสิน]] สำนักงานใหญ่ (ปัจจุบันย้ายอยู่บริเวณริม[[ถนนพหลโยธิน]] ใกล้[[แยกสะพานควาย]]) นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ทำการของสถานีวิทยุ ททท. [[อสมท | บริษัทไทยโทรทัศน์]] ซึ่งต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2516]] จึงถูกรื้อทำลายอาคารทั้งหมด ปล่อยว่างอยู่นาน กระทั่งได้สร้าง[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา|อนุสาวรีย์สถาน]] ทางฝั่งถนนตะนาวที่มุ่งหน้าไปยังย่านบางลำพู ดังปรากฏโดดเด่นอยู่ในปัจจุบันนี้


แยกคอกวัวนับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของมวลชนที่จะรวมตัวเดินขบวนประท้วงในภาวะวิกฤตทางสังคมการเมืองของไทย (นอกจากอยู่ใกล้กับ[[สนามหลวง]]และ[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]) ปรากฏในหลายช่วงของประวัติศาสตร์ ทั้งในปี [[เหตุการณ์ 14 ตุลา|พ.ศ. 2516]], [[เหตุการณ์ 6 ตุลา|พ.ศ. 2519]], [[พฤษภาทมิฬ|พ.ศ. 2535]], [[การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง|พ.ศ. 2549]], [[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พ.ศ. 2551]], [[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|พ.ศ. 2553]] และ[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|พ.ศ. 2556–57]]<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=H-ZG-UemVIY|title=ข่าวศิลปะ บันเทิง - สี่แยกคอกวัว ถนนตีทอง|date=2013-10-21|work=[[ไทยพีบีเอส]]}}</ref>
แยกคอกวัวนับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของมวลชนที่จะรวมตัวเดินขบวนประท้วงในภาวะวิกฤตทางสังคมการเมืองของไทย (นอกจากอยู่ใกล้กับ[[สนามหลวง]]และ[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]) ปรากฏในหลายช่วงของประวัติศาสตร์ ทั้งในปี [[เหตุการณ์ 14 ตุลา|พ.ศ. 2516]], [[เหตุการณ์ 6 ตุลา|พ.ศ. 2519]], [[พฤษภาทมิฬ|พ.ศ. 2535]], [[การประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง|พ.ศ. 2549]], [[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พ.ศ. 2551]], [[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553|พ.ศ. 2553]], [[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|พ.ศ. 2556–57]]<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=H-ZG-UemVIY|title=ข่าวศิลปะ บันเทิง - สี่แยกคอกวัว ถนนตีทอง|date=2013-10-21|work=[[ไทยพีบีเอส]]}}</ref> และ [[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564|พ.ศ. 2563–2564]]


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
{{เขตพระนคร}}
{{เขตพระนคร}}
{{เรียงลำดับ|ยแกคอกวัว}}
{{เรียงลำดับ|ยแกคอกวัว}}
[[หมวดหมู่:สี่แยก|คอกวัว]]
[[หมวดหมู่:สี่แยกในกรุงเทพมหานคร|คอกวัว]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:ทางแยกในเขตพระนคร|คอกวัว]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 01:32, 6 กุมภาพันธ์ 2567

สี่แยก คอกวัว
แผนที่
ชื่ออักษรไทยคอกวัว
ชื่ออักษรโรมันKhok Wua
รหัสทางแยกN003 (ESRI), 079 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงบวรนิเวศและแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนตะนาว
» ถนนข้าวสาร
ถนนราชดำเนินกลาง
» อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ถนนตะนาว
» แยกศาลเจ้าพ่อเสือ
ถนนราชดำเนินกลาง
» แยกผ่านพิภพลีลา (ปิ่นเกล้า-สนามหลวง)

แยกคอกวัว เป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนตะนาว ตั้งอยู่ในแขวงบวรนิเวศ และแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นที่เลี้ยงวัวของชาวฮินดู ที่อาศัยรอบ ๆ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เนื่องจากเป็นทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ บริเวณป้อมเผด็จดัสกรตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ตั้งของโรงเลี้ยงวัวหลวง เพื่อผลิตน้ำนมส่งพระราชวัง ซึ่งไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่อีกแล้วในปัจจุบัน (ความปรากฏอยู่ในบทละครล้อเลียนเรื่อง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) ในสมัยรัชกาลที่ 3) จนไปถึงบริเวณคลองมอญ รวมถึงเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมุสลิมที่อพยพมาจากภาคใต้และประเทศอินโดนีเซีย โดยมีศาสนสถานที่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ มัสยิดบ้านตึกดิน และมัสยิดจักรพงษ์ ที่อยู่ทางย่านบางลำพู (ปัจจุบันก็ได้แยกย้ายไปอาศัยอยู่ที่อื่นจนเกือบหมดแล้ว)

ในบริเวณแยกคอกวัวยังเคยเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานสำคัญ ๆ หลายแห่งด้วยกัน เช่น ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (ปัจจุบันย้ายอยู่บริเวณริมถนนพหลโยธิน ใกล้แยกสะพานควาย) นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ทำการของสถานีวิทยุ ททท. บริษัทไทยโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงถูกรื้อทำลายอาคารทั้งหมด ปล่อยว่างอยู่นาน กระทั่งได้สร้างอนุสาวรีย์สถาน ทางฝั่งถนนตะนาวที่มุ่งหน้าไปยังย่านบางลำพู ดังปรากฏโดดเด่นอยู่ในปัจจุบันนี้

แยกคอกวัวนับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งของมวลชนที่จะรวมตัวเดินขบวนประท้วงในภาวะวิกฤตทางสังคมการเมืองของไทย (นอกจากอยู่ใกล้กับสนามหลวงและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ปรากฏในหลายช่วงของประวัติศาสตร์ ทั้งในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2549, พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2553, พ.ศ. 2556–57[1] และ พ.ศ. 2563–2564

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข่าวศิลปะ บันเทิง - สี่แยกคอกวัว ถนนตีทอง". ไทยพีบีเอส. 2013-10-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′26″N 100°29′56″E / 13.757266°N 100.498958°E / 13.757266; 100.498958