ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกฯ (มือใหม่) หัวใจประชาชน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เรียกคืนข้อความที่ขัดหูขัดตาบางคน+ยกเนื้อหาโฆษณาออก
Ps (คุย | ส่วนร่วม)
ขอเถอะครับ ซีรี่ส์ญี่ปุ่น มันเกี่ยวอะไรกันด้วย
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
ช่วงเวลาที่ Change เริ่มออกอากาศ เป็นจังหวะเดียวกับที่ [[บารัค โอบามา]] [[การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008|ผู้สมัครชิงตำแหน่ง]][[ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา]] ในปี [[ค.ศ. 2008]] ซึ่งเปิดตัวด้วยสโลแกน ''Change'' เช่นเดียวกับชื่อเรื่อง ซึ่งมีภาพลักษณ์ในลักษณะเดียวกับตัวละครเอกในเรื่อง คือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ และต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น
ช่วงเวลาที่ Change เริ่มออกอากาศ เป็นจังหวะเดียวกับที่ [[บารัค โอบามา]] [[การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008|ผู้สมัครชิงตำแหน่ง]][[ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา]] ในปี [[ค.ศ. 2008]] ซึ่งเปิดตัวด้วยสโลแกน ''Change'' เช่นเดียวกับชื่อเรื่อง ซึ่งมีภาพลักษณ์ในลักษณะเดียวกับตัวละครเอกในเรื่อง คือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ และต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น


รวมถึงการเริ่มออกอากาศในประเทศไทย ช่วงที่กำลังเกิด[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552|วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ]]พอดี จนส่งผลให้ผู้ชม[[ชาวไทย]]วิพากษ์วิจารณ์ถึงตัวละคร เคตะ อะซะกุระ ว่ามีลักษณะบางอย่างคล้ายกับบุคคลสำคัญทางการเมืองในประเทศไทย เช่น มีแนวความคิดที่ก้าวหน้า ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านอย่างไม่ถือตัว และทำหน้าที่บริหารงานระดับประเทศอย่างไม่บกพร่อง คล้ายคลึงกับ [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|อดีตนายกรัฐมนตรี]] และอดีตหัวหน้า[[พรรคไทยรักไทย]] ส่วนในด้านบุคลิกภาพ และการเป็น[[นายกรัฐมนตรี]] โดยได้รับการผลักดันอย่างมีเลศนัย จากบุคคลสำคัญในพรรค ก็ได้รับการเปรียบเทียบว่า คล้ายกับกรณีที่ [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ขึ้นสู่ตำแหน่งโดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ [[สุเทพ เทือกสุบรรณ]] เลขาธิการพรรค<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000148916 Change ซีรีส์การเมืองใหม่โดยคนรูปหล่อ(1)/ต่อพงษ์]บทวิจารณ์ 10 ตอน จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]</ref>
รวมถึงการเริ่มออกอากาศในประเทศไทย ช่วงที่กำลังเกิด[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2552|วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ]]พอดี จนส่งผลให้ผู้ชม[[ชาวไทย]]วิพากษ์วิจารณ์ถึงตัวละคร เคตะ อะซะกุระ ว่ามีลักษณะบางอย่างคล้ายกับบุคคลสำคัญทางการเมืองในประเทศไทย เช่น มีแนวความคิดที่ก้าวหน้า ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านอย่างไม่ถือตัว และทำหน้าที่บริหารงานระดับประเทศอย่างไม่บกพร่อง<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000148916 Change ซีรีส์การเมืองใหม่โดยคนรูปหล่อ(1)/ต่อพงษ์]บทวิจารณ์ 10 ตอน จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:40, 3 พฤษภาคม 2552

นายกฯ (มือใหม่) หัวใจประชาชน
Change: นายก (มือใหม่) หัวใจประชาชน
ประเภทดรามา, การเมือง
แสดงนำทาคุยะ คิมุระ
เอริ ฟูคัตสึ
ดนตรีแก่นเรื่องปิดไมส์อเวย์ (มาดอนน่า)
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จำนวนตอน10
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างฮิโรยูกิ โกโต, คาซูยูกิ ชิมิสึ
สถานที่ถ่ายทำญี่ปุ่น กรุงโตเกียว
ความยาวตอน54 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์ฟูจิ
ไทย สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
ออกอากาศ(ทางทีวีไทย) 22 เมษายน พ.ศ. 2552 –
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

นายกฯ (มือใหม่) หัวใจประชาชน[1] (ญี่ปุ่น: チェンジ อังกฤษ: Change) เป็นละครโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ฟูจิ โดยออกอากาศที่ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และออกอากาศในประเทศไทย ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี เวลา 20.20 - 21.10 น. โดยเริ่มตอนแรก ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552 มีกำหนดจบในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เรื่องย่อ

นายกฯ (มือใหม่) หัวใจประชาชน เป็นเรื่องราวของ เคตะ อะซะกุระ (แสดงโดย: ทาคุยะ คิมุระ) ครูหนุ่มอายุ 35 ประจำชั้นประถม 5 ทายาทนักการเมืองชื่อดังของ พรรคญี่ปุ่นก้าวหน้า (นิฮนเซยู) ผู้ไม่ประสีประสาเรื่องการเมืองเลยแม้แต่น้อย แต่กลับต้องพลิกผันชีวิตของตนเอง เนื่องจาก มาโคโตะ อะซะกุระ พ่อ และ มาซายะ อะซะกุระ พี่ชาย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก

โชอิจิ คัมบายาชิ ประธานบริหารพรรค จึงมอบหมายให้ มิยามะ ริกะ (เอริ ฟูคัตสึ) เลขานุการส่วนตัว ลงพื้นที่เพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขต 6 จังหวัดฟุกุโอกะ และได้รับเลือกตั้งอย่างไม่คาดฝัน ด้วยคะแนนที่เฉียดฉิว จากนั้น เคตะก็กลายเป็นที่สนใจอย่างยิ่งของสาธารณชน เนื่องจากเป็นคนหนุ่มอายุน้อย มีหน้าตาและบุคลิกภาพดี จึงได้รับฉายา เจ้าชายรัฐสภา

หลังจากนั้น อุไค ทาเคฮิโกะ หัวหน้าพรรค และนายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากถูกเปิดโปงเรื่องชู้สาว คัมบายาชิจึงผลักดันคนที่ไม่รู้เรื่องการเมืองมากนักอย่างเคตะ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น เพราะเชื่อว่า เคตะจะบริหารงานไม่เป็น จะเป็นหุ่นเชิดให้ตัวเองได้ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับวงการเมือง ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤตศรัทธาของประชาชน คัมบายาชิได้เสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีให้เคตะโดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว คัมบายะชิได้เลือกเฟ้นคนที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ทุจริตรับเงินจากบริษัทเอกชนเมื่อหลายสิบปีก่อนมาเป็นคณะรัฐมนตรี เหมือนเป็นระเบิดเวลาที่คัมบายาชิจะหยิบมาใช้เมื่อใดก็ได้ และทำให้ตนเองขึ้นสู่ตำแหน่งได้อย่างชอบธรรม

อย่างไรก็ตามเมื่อเคตะได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ หรือแม้แต่ปัญหาเล็กๆ ของชาวบ้านในท้องถิ่น เพื่อหวังจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดียิ่งขึ้น และกระตุ้นเตือนสังคม และสร้างสรรค์การเมืองในรูปแบบใหม่อย่างที่ใฝ่ฝัน เคตะทุ่มเททำงานอย่างนักถึงกับอดหลับอดนอนติดต่อกันหลายคืนอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นที่ได้ให้ไว้กับประชาชนตอนหาเสียงว่า

ด้วยหูที่เหมือนของท่าน ผมสัญญาว่า ผมจะตั้งใจฟังเสียงที่เบาที่สุด ของผู้ที่เราเรียกเขาว่าเป็นผู้อ่อนแอ

ด้วยขาสองข้างที่เหมือนท่าน ผมสัญญาว่า ผมจะวิ่งเข้าหาปัญหาต่างๆ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

ด้วยสองมือที่เหมือนพวกท่าน ผมสัญญาว่าจะใช้มันทำงานให้หนัก จนด้านแข็ง จนเหงื่อหยดจากมือ เพื่อจะสร้างหนทางใหม่ ที่ประเทศนี้ควรจะเป็น

ทุกๆ อย่างของผม ก็จะเป็นเหมือนของท่าน

การที่เคตะไม่เป็นหุ่นเชิดตามที่คัมบายะชิวางแผนไว้ ทำให้คัมยายะชิต้องใช้แผนการที่วางไว้เพื่อทำลายเคตะลง โดยหวังว่าเคตะจะลาออก แต่ผลสุดท้ายปรากฏว่าเคตะประกาศยุบสภา และได้ออกอากาศสดถึงประชาชนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก (ในเรื่องกล่าวว่าไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น) ในคำปราศัยครั้งสุดท้ายก่อนประกาศยุบสภานั้น เคตะเน้นถึงความสำคัญของกระบวนการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน เคตะต้องการกระตุ้นให้ประชาชนมาสนใจการเมือง ไม่นิ่งเฉยหรือเบื่อหน่ายต่อการเมือง

ระหว่างที่เนื้อเรื่องดำเนินไปนั้น เคตะได้พบกับมิยามะเลขาสาวของคัมบายาชิที่เคยเป็นข้าราชการกระทรวงการคลัง เธอลาออกจากกระทรวงมาทำงานกับคัมบายาชิด้วยความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชน เคตะได้แรงบันดาลใจและพึ่งพามันสมองจากเลขาผู้นี้ตลอดการดำรงตำแหน่งของเขา คัมบายาชิมอบหมายให้เธอติดตามเคตะมาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกของเขาที่ฟุกุโอะกะ และมาเป็นเลขาสมาชิกสภาไดเอ็ท (สภาของญี่ปุ่น) จนกระทั่งเป็นเลขาของนายกรัฐมนตรีในที่สุด

เมื่อคัมบายาชิตัดสินใจที่จะนำเคตะลงจากตำแหน่งจึงได้เรียกตัวมิยามะกลับมาทำงานด้วย เธอกลับปฏิบัติตามคำสั่งกลับไปทำงานด้วย แต่ต่อมาภายหลังเมื่อเธอพบว่าคัมบายะชิมิใช่นักการเมืองที่มีความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน หวังเพียงประโยชน์ส่วนตนที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ใช้วิธีการสกปรกเอาเงินงบลับของคณะรัฐมนตรีไปใช้ในการซื้อเสียงสมาชิกสภาเพื่อให้ต่อต้านร่างกฎหมายที่เคตะเสนอ ซ้ำยังกลับคำพูดที่ให้ไว้กับเคตะ และใส่ร้ายเคตะต่อหน้าสื่อมวลชนว่าเคตะเอาแต่ใจกลายเป็นเผด็จการจนคัมบายะชิต้องออกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มิยามะจึงตัดสินใจกลับมาร่วมงานกับเคตะ และในท้ายที่สุดเคตะก็ขอให้เธออยู่เคียงข้างเขาตลอดไป ไม่ใช่แค่ในหน้าที่การงาน

ปฏิกิริยาจากสังคม

ช่วงเวลาที่ Change เริ่มออกอากาศ เป็นจังหวะเดียวกับที่ บารัค โอบามา ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งเปิดตัวด้วยสโลแกน Change เช่นเดียวกับชื่อเรื่อง ซึ่งมีภาพลักษณ์ในลักษณะเดียวกับตัวละครเอกในเรื่อง คือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ และต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น

รวมถึงการเริ่มออกอากาศในประเทศไทย ช่วงที่กำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศพอดี จนส่งผลให้ผู้ชมชาวไทยวิพากษ์วิจารณ์ถึงตัวละคร เคตะ อะซะกุระ ว่ามีลักษณะบางอย่างคล้ายกับบุคคลสำคัญทางการเมืองในประเทศไทย เช่น มีแนวความคิดที่ก้าวหน้า ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านอย่างไม่ถือตัว และทำหน้าที่บริหารงานระดับประเทศอย่างไม่บกพร่อง[2]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น