ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาธรรมราชาที่ 3"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6630313 สร้างโดย 124.120.202.217 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| พระอิสริยยศ = [[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[อาณาจักรสุโขทัย]]
| พระอิสริยยศ = [[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[อาณาจักรสุโขทัย]]
| พระราชบิดา = [[พระมหาธรรมราชาที่ 2]]
| พระราชบิดา = [[พระมหาธรรมราชาที่ 2]]
| พระราชมารดา = [[สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา มหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง]]<ref>คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ''ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย ‎(จารึกวัดตาเถรขึงหนัง)''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547, หน้า 467-468</ref><ref>เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ''ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 69, 73</ref><ref>http://social.obec.go.th/library/document/curriculum/2/1/1.9.pdf</ref>
| พระราชมารดา =
| พระมเหสี =
| พระมเหสี =
| พระราชสวามี =
| พระราชสวามี =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:01, 17 กันยายน 2559

พระมหาธรรมราชาที่ 3

พระยาไสลือไทย
พระมหาธรรมราชา
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ครองราชย์พ.ศ. 1943 - 1962
รัชสมัย19 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระมหาธรรมราชาที่ 2
รัชกาลถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 4
สวรรคตพ.ศ. 1962
พระมหาธรรมราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาที่ 2
พระราชมารดาสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา มหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง[1][2][3]

พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย)[4] เป็นพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1942 พระยาไสสือไทจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อมา

พระประวัติ

พระมหาธรรมราชาที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 2 และเป็นพระเชษฐาในพระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี พ.ศ. 1943[4]

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงยกทัพไปช่วยท้าวยี่กุมกามชิงราชสมบัติเวียงเชียงใหม่จากพญาสามฝั่งแกน ทรงตีได้เมืองพะเยา เชียงราย และฝาง แต่ที่สุดทรงพ่ายสงครามต้องยกทัพกลับ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ได้ตราพระราชโองการให้สงฆ์ปกครองกันเอง และยึดคำตัดสินของสังฆราชในการระงับอธิกรณ์[4]

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ระบุว่า เมื่อพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือก็เกิดจลาจล สมเด็จพระอินทราชาจึงได้โอกาสยกทัพขึ้นมา พระยาบาลเมืองและพระยารามยอมอ่อนน้อม[5] และเข้าเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยานับแต่นั้น

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย ‎(จารึกวัดตาเถรขึงหนัง). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2547, หน้า 467-468
  2. เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 69, 73
  3. http://social.obec.go.th/library/document/curriculum/2/1/1.9.pdf
  4. 4.0 4.1 4.2 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 40
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 394
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 3 ถัดไป
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไทย) พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย

(พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1962)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)