ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พายุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "* ประเทศไทยโง่่่สนใจแว่นตา Ophtus หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ blanking
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 11079421 โดย Quinlan83 (พูดคุย) ด้วยสจห.: ย้อนก่อกวน
ป้ายระบุ: ทำกลับ
 
(ไม่แสดง 44 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 29 คน)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Rolling-thunder-cloud.jpg|thumb|right|280px|เมฆพายุหมุนเหนือเมือง [[เอนสเกเด]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]]]]
* ประเทศไทยโง่่่สนใจแว่นตา Ophtus
{{สภาพอากาศ}}
'''พายุ''' คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีปัจจัยสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีมาตราวัดความรุนแรงคล้ายมาตรา[[ริกเตอร์]]ของการวัดขนาด[[แผ่นดินไหว]] มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการเกิดได้ทุกที่

== การเกิด ==
พายุ (Storms) เกิดจากแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิด[[ลม]] อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนอง

ซึ่งแรงดันอากาศต่ำอาจเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่พื้นที่ใด ๆ อันเกิดจากอากาศร้อนลอยล่องขึ้นจากพื้นดิน ส่งผลให้เกิดการปั่นป่วนน้อย ๆ เช่น การเกิดพายุฝุ่น (dust devils) หรือลมหมุน (whirlwinds)

== ประเภท ==
* พายุหิมะ (Blizzard) - ที่ทำให้เกิดหิมะจำนวนมาก จนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแทบจะเหลือศูนย์ โดยมีลมแรงอย่างน้อย 35 ไมล์ต่อชั่วโมง (56 กม. / ชม.) และมีผลกระทบอยู่เป็นเวลานาน
*[[พายุฝุ่น]] (Dust storm) - เกิดจากสถานการณ์ที่ลมพัดเอาทรายหรือดินในปริมาณมาก มีผลกระทบทำให้ลดการมองเห็นเป็นอย่างมาก
*Gale - พายุลมแรงด้วยความเร็ว 34-48 นอต (39–55 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 63–90 กม. / ชม.)
*พายุลูกเห็บ (Hailstorm) - พายุชนิดหนึ่ง เป็นปรากปรากฏการณ์ทำให้เกิด[[ลูกเห็บ]]จำนวนมากตกลงมาจาก[[ท้องฟ้า]]
*[[พายุฟ้าคะนอง]] (Thunderstorm) - เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ [[ฟ้าร้อง]]
*[[ทอร์นาโด]] (Tornado) - เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น
*[[พายุหมุนเขตร้อน]] (Tropical cyclone) - เป็นระบบพายุที่หมุนอย่างรวดเร็ว มีลักษณะได้แก่ ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ การไหลเวียนของบรรยากาศระดับต่ำแบบปิด ลมกระโชกแรง และการจัดเรียงของพายุฟ้าคะนองแบบก้นหอยซึ่งให้เกิดฝนตกหนัก
*[[พายุหมุนนอกเขตร้อน]] (extratropical cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตก

==ระดับความรุนแรง==
การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ หรือที่เราเรียกว่า '''“[[มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน]]”''' การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจาก'''พายุเฮอร์ริเคน'''เมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่ง โดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น<ref>{{Cite web |url=https://teen.mthai.com/variety/64742.html |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2019-10-16 |archive-date=2019-10-16 |archive-url=https://web.archive.org/web/20191016160954/https://teen.mthai.com/variety/64742.html |url-status=dead }}</ref>

* '''ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 1'''

ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อยไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย

* '''ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 2'''

ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้

* '''ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 3'''

ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

* '''ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 4'''

ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง สูง แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

* '''ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 5'''

ความเร็วลม ไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์อานุภาพในการทำลายล้าง สูง หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน

== อ้างอิง ==
* Lan Rohr, ''ภัยใกล้ตัว (Go Facts Disaster: Wild Weather)'', 2552. ISBN 9789743123610.

== ดูเพิ่ม ==
* [[รายชื่อพายุ]] รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php เส้นทางเดินพายุ] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20100804023125/http://www.tmd.go.th/storm_tracking.php |date=2010-08-04 }} กรมอุตุนิยมวิทยา


[[หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา]]
[[หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา]]
[[หมวดหมู่:ภัยธรรมชาติ]]
[[หมวดหมู่:ภัยธรรมชาติ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:58, 19 ตุลาคม 2566

เมฆพายุหมุนเหนือเมือง เอนสเกเด ประเทศเนเธอร์แลนด์

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีปัจจัยสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีมาตราวัดความรุนแรงคล้ายมาตราริกเตอร์ของการวัดขนาดแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการเกิดได้ทุกที่

การเกิด

[แก้]

พายุ (Storms) เกิดจากแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนอง

ซึ่งแรงดันอากาศต่ำอาจเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่พื้นที่ใด ๆ อันเกิดจากอากาศร้อนลอยล่องขึ้นจากพื้นดิน ส่งผลให้เกิดการปั่นป่วนน้อย ๆ เช่น การเกิดพายุฝุ่น (dust devils) หรือลมหมุน (whirlwinds)

ประเภท

[แก้]
  • พายุหิมะ (Blizzard) - ที่ทำให้เกิดหิมะจำนวนมาก จนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแทบจะเหลือศูนย์ โดยมีลมแรงอย่างน้อย 35 ไมล์ต่อชั่วโมง (56 กม. / ชม.) และมีผลกระทบอยู่เป็นเวลานาน
  • พายุฝุ่น (Dust storm) - เกิดจากสถานการณ์ที่ลมพัดเอาทรายหรือดินในปริมาณมาก มีผลกระทบทำให้ลดการมองเห็นเป็นอย่างมาก
  • Gale - พายุลมแรงด้วยความเร็ว 34-48 นอต (39–55 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 63–90 กม. / ชม.)
  • พายุลูกเห็บ (Hailstorm) - พายุชนิดหนึ่ง เป็นปรากปรากฏการณ์ทำให้เกิดลูกเห็บจำนวนมากตกลงมาจากท้องฟ้า
  • พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorm) - เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง
  • ทอร์นาโด (Tornado) - เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น
  • พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) - เป็นระบบพายุที่หมุนอย่างรวดเร็ว มีลักษณะได้แก่ ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ การไหลเวียนของบรรยากาศระดับต่ำแบบปิด ลมกระโชกแรง และการจัดเรียงของพายุฟ้าคะนองแบบก้นหอยซึ่งให้เกิดฝนตกหนัก
  • พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตก

ระดับความรุนแรง

[แก้]

การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ หรือที่เราเรียกว่า มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่ง โดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น[1]

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 1

ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อยไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 2

ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 3

ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 4

ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์ อานุภาพในการทำลายล้าง สูง แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

  • ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ 5

ความเร็วลม ไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์อานุภาพในการทำลายล้าง สูง หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน

อ้างอิง

[แก้]
  • Lan Rohr, ภัยใกล้ตัว (Go Facts Disaster: Wild Weather), 2552. ISBN 9789743123610.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • รายชื่อพายุ รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.