ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: cs:Novorománský sloh
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต แก้ไข: nl:Neoromaanse architectuur
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
[[li:Neoromaans]]
[[li:Neoromaans]]
[[lt:Neoromaninė architektūra]]
[[lt:Neoromaninė architektūra]]
[[nl:Neoromaans]]
[[nl:Neoromaanse architectuur]]
[[pl:Neoromanizm]]
[[pl:Neoromanizm]]
[[pt:Neorromânico]]
[[pt:Neorromânico]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:01, 1 เมษายน 2555

หอรอยซ์ (ค.ศ. 1929) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสที่มีแรงบันดาลใจจากบาซิลิกาซานอัมโบรจิโอในมิลานในอิตาลี
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ของตึกที่ว่าการรัฐนิวยอร์ค, อัลบานี, นิวยอร์ค

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ (อังกฤษ: Romanesque Revival architecture หรือ Neo-Romanesque) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธพลมาจากลักษณะสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์[1]ของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12

ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ก็จะมีซุ้มโค้งครึ่งวงกลม, โค้งครึ่งวงกลมเหนือหน้าต่าง และ แนวหิน, อิฐ หรือ ชิงเกิลที่เรียงเป็นแนวบนผนัง แต่สิ่งที่ต่างจากต้นฉบับคือส่วนที่เป็นโค้งจะเป็นโค้งที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเช่นที่ใช้ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ดั้งเดิม ลักษณะสถาปัตยกรรมนี้เป็นที่นิยมกันในการก่อสร้างตึกเรียนของมหาวิทยาลัยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เช่นที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และที่ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน และ ศาสนสถานของศาสนายูดายอีกด้วย

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในบรรดาสถาปนิกชาวอเมริกันในรูปแบบที่เรียกว่า “โรมาเนสก์อิสระ” คือเฮนรี ฮ็อบสัน ริชาร์ดสัน สถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากตัวอย่างที่วางไว้โดยริชาร์ดสันจึงเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ริชาร์ดสัน”.(Richardsonian Romanesque)

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์ในระยะแรกตระกูลหนึ่งที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรมรุนด์โบเก็นชตีล”.(Richardsonian Romanesque) หรือ “สถาปัตยกรรมโค้งกลม” นิยมกันในดินแดนเยอรมนี และ ในดินแดนที่ชาวเยอรมันไปตั้งถิ่นฐานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1830

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเลือกลักษณะสถาปัตยกรรมในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานอังกลิคันก็ขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องกับสังฆมณฑล ถ้าเป็นคริสต์ศาสนสถานของไฮห์อังกลิคันก็มักจะมีอิทธิพลจากขบวนการอ๊อกซฟอร์ดที่จะนิยมสร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค แต่ถ้าเป็นคริสต์ศาสนสถานของโลว์อังกลิคันและบรอดเชิร์ชก็มักจะเป็นแบบฟื้นฟูโรมาเนสก์

อ้างอิง

  1. Rolf Toman, Romanesque, Könemann, (1997), ISBN 3-89508-447-6

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโรมาเนสก์

ระเบียงภาพ