ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรเชชษฐ์ หักพาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับข้อมูลเรื่องการโยกย้ายและกลับมา/เพิ่ม reference/ลบข้อมูลการศึกษาที่ไม่มีการอ้างอิงออกไป/ลบข้อความไม่เป็นกลางเกี่ยวกับคำสั่งย้ายออกไป
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
สุรเชษฐ์ หักพาล ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของดาบตำรวจ ไสว หักพาล และนางสุมิตรา หักพาล สมรสกับ ดร.ศิรินัดดา (สกุลเดิม พานิชพงษ์) สำเร็จการศึกษาในชั้นอนุบาล [[โรงเรียนกลับเพชรศึกษา]]ซึ่งมารดาเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนี้ สำเร็จการศึกษาในชั้นประถม [[โรงเรียนวิเชียรชม]] สำเร็จการศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนมหาวชิราวุธ]] และ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยตำรวจ]] รุ่นที่ 47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบันฑิต สาขา[[อาชญาวิทยา]]และการบริหารงานยุติธรรม จาก[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา[[รัฐประศาสนศาสตร์]] จาก[[มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย]]ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก สังคมศาสตร์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา[[อาชญาวิทยา]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]<ref name =jakdow/><ref name = komchadluek1>[http://www.komchadluek.net/news/crime/368151 ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ]</ref> สำเร็จการศึกษาหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 21 (ปปร.21) โดยรับเกีบรติบัตร จาก [[พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์]] [[องคมนตรี]] ประธานองคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2562 มีรายงานว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอถอนตัวหลังมีชื่อในลำดับที่ 86หลังได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 10 หรือ “พตส.10″ ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยได้ประสานแจ้งไปยังพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต.เพื่อแจ้งให้ทราบ โดยให้เหตุผลว่า อยากทำงานและปฏิบัติหน้าที่ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายก่อน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ได้ลงนามในประกาศสำนักงาน กกต. เรื่องรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร พตส.10 จำนวน 100 คน โดยปราว่ามีชื่อของพล.ต.ท.สุรเชษฐ์รวมอยู่ด้วย พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นที่มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ผู้พิพากษา นักธุรกิจ และสื่อสารมวลชน อาทิ นายการุณ โหสกุล ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงามส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย นายศุภณัฐค์ น้อยโสภณ คณะกรรมการนโยบายด้าน ICT พรรคเพื่อไทย นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย นายชัชวาลล์ คงอุดม ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคท้องถิ่นไท เป็นต้น
สุรเชษฐ์ หักพาล ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของดาบตำรวจ ไสว หักพาล และนางสุมิตรา หักพาล สมรสกับ ดร.ศิรินัดดา (สกุลเดิม พานิชพงษ์) สำเร็จการศึกษาในชั้นอนุบาล [[โรงเรียนกลับเพชรศึกษา]]ซึ่งมารดาเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนี้ สำเร็จการศึกษาในชั้นประถม [[โรงเรียนวิเชียรชม]] สำเร็จการศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนมหาวชิราวุธ]] และ[[โรงเรียนเตรียมทหาร]] รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยตำรวจ]] รุ่นที่ 47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบันฑิต สาขา[[อาชญาวิทยา]]และการบริหารงานยุติธรรม จาก[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา[[รัฐประศาสนศาสตร์]] จาก[[มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย]]<ref name =jakdow/><ref name = komchadluek1>[http://www.komchadluek.net/news/crime/368151 ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ]</ref>


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==
บรรทัด 48: บรรทัด 48:


ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้มีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ โดยนาย[[วิษณุ เครืองาม]] รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าคำสั่งนี้ออกมาเนื่องจากมีการร้องเรียน จึงต้องเตือนไว้ก่อน<ref name=thaipost1>[https://www.thaipost.net/main/detail/55478 บิ๊กช้างย่องเงียบ ดอดรายงานตัว หึ่ง‘โจ๊ก’งานเข้า]</ref>
ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้มีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ โดยนาย[[วิษณุ เครืองาม]] รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าคำสั่งนี้ออกมาเนื่องจากมีการร้องเรียน จึงต้องเตือนไว้ก่อน<ref name=thaipost1>[https://www.thaipost.net/main/detail/55478 บิ๊กช้างย่องเงียบ ดอดรายงานตัว หึ่ง‘โจ๊ก’งานเข้า]</ref>
28 ม.ค.2563 หลังจาก พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ บิ๊กโจ๊ก ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นหนังสือลา เพื่อขอบวชทดแทนคุณ พ่อแม่ ที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และได้เข้าพิธีอุปสมบถ อย่างเรียบง่าย และได้รับฉายาว่า "สุรเชฏฺฐโพธิ" แปลว่า ผู้มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ ซึ่งเจริญที่สุดด้วยความกล้าหาญ แล้วนั้น ในโอกาสนี้จะขอย้อนทวนผลงานในรอบ 2-3 ปี ที่ผ่านมาของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ นายตำรวจที่ร้อนแรงในหน้าสื่อคนหนึ่งก่อน ถูกย้าย ถูกยิงรถ ถูกคำสั่งนายกฯ ห้ามประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กระทำการอันเป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ จนถึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ที่อินเดียนี้ โดยจะบวชเป็นเวลา 9 วัน


ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นหนังสือลากิจเพื่อขอบวชที่[[วัดไทยพุทธคยา]] [[ประเทศอินเดีย]] เป็นเวลา 9 วัน<ref name=matichon4>[https://www.matichonweekly.com/column/article_271450 อาชญากรรม | หนีร้อนไปพึ่งเย็น “บิ๊กโจ๊ก” ลาบวช ศึก “สีกากี” นี้วุ่นวายหนอ?]</ref> และกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2563
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ คืออดีตผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รองผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) และผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้กำกับการกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ก่อนที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งโอนย้ายเขาเป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ปี 62
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า จากกรณีที่ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม กรณีถูกย้ายจาก ผบช.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น เป็นการใช้สิทธิ์ฟ้องตามกฎหมาย เนื่องจากคำสั่งโยกย้ายที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลงนาม เมื่อ 1 ปี 5 เดือนที่ผ่านมานั้น ไม่เป็นธรรม เพราะไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดแต่อย่างใด ไม่ว่าจะโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) หรือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นอกจากนั้น ยังเป็นการย้ายขาดจากต้นสังกัดเดิม ซึ่งถือเป็นการขัดระเบียบ
ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ข้าราชการที่ถูกโยกย้ายในคำสั่งเดียวกันกับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กว่า 70 คน ส่วนใหญ่ได้ถูกสอบสวนตามระเบียบและถูกย้ายกลับต้นสังกัดเดิมเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงไม่กี่คน รวมทั้ง พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ด้วย ที่ยังไม่ได้ถูกส่งตัวกลับหน่วยต้นสังกัดเดิม ดังนั้น พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ จึงได้ส่งทนายยื่นฟ้องนายกฯ ต่อศาลปกครองกลาง เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้มีการแก้ไขคำสั่งใหม่ และทำตามระเบียบให้ถูกต้อง


ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม กรณีถูกย้ายจาก ผบช.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีออก เนื่องจากเห็นว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ขอให้พิจารณามีคำสั่งกลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการดังเดิม แต่เนื่องจากยังไม่พ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับหนังสือ จึงถือว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยังไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนตามที่ได้ยื่นฟ้องศาลไว้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี<ref name=manager1>[https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000120883 ศาลไม่รับฟ้องคดี"บิ๊กโจ๊ก"ฟ้องนายกฯ-ปลัด สปน.สั่งย้ายมิชอบ]<ref name = thairath2>[https://www.thairath.co.th/news/politic/1982507 ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้อง “บิ๊กโจ๊ก” ยื่นฟ้อง “บิ๊กตู่” กรณีคำสั่งย้าย]</ref>
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้เดินทางเข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมาพบกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี โดย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในวันนั้น


===การกลับมาเป็นข้าราชการตำรวจ===
===การกลับมาเป็นข้าราชการตำรวจ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:22, 13 เมษายน 2564

สุรเชษฐ์ หักพาล
ที่ปรึกษา​ (สบ​.9)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม​ 2564
ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2561 – 9 เมษายน 2562
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
ถัดไปพลตำรวจโท สมพงษ์ ชิงดวง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
คู่สมรสดร.ศิรินัดดา หักพาล
บุพการี
  • ด.ต.ไสว หักพาล (บิดา)
  • สุมิตรา หักพาล (มารดา)
การศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ
โรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
มหาวิทยาลัยมหิดล (ปริญญาโท สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)[1]
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการ2537–2562, 2564-ปัจจุบัน​
ยศ พลตำรวจโท
บังคับบัญชาสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ตำรวจสายตรวจและปฏฺบัติการพิเศษ
ตำรวจท่องเที่ยว
สถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่
กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์

พลตำรวจโท​ สุรเชษฐ์ หักพาล หรือ​ บิ๊กโจ๊ก​ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513) เป็นนายตำรวจชาวไทย​ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา​สำ​นักงาน​ตำรวจแห่ง​ชาติ​ (สบ​ 9) อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[2] อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.)[1] และผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ)[3][4] นอกจากนี้ เขายังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว รองผู้บังคับการจังหวัดสงขลา ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จ.สงขลา และ ผู้กำกับการกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ (ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)[1] พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งโอนย้ายเขาเป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งปัจจุบันเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562[5][6] ปัจจุบันได้โอนย้ายกลับมารับราชการที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้ว

ประวัติ

สุรเชษฐ์ หักพาล ชื่อเล่น โจ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของดาบตำรวจ ไสว หักพาล และนางสุมิตรา หักพาล สมรสกับ ดร.ศิรินัดดา (สกุลเดิม พานิชพงษ์) สำเร็จการศึกษาในชั้นอนุบาล โรงเรียนกลับเพชรศึกษาซึ่งมารดาเป็นครูสอนอยู่โรงเรียนนี้ สำเร็จการศึกษาในชั้นประถม โรงเรียนวิเชียรชม สำเร็จการศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ และโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 31 ระดับชั้นปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 47 ระดับปริญญาโท สังคมศาสตรมหาบันฑิต สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยมหิดล และระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[1][7]

การทำงาน

เริ่มต้นรับราชการตำรวจ

ร.ต.ต. สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น เริ่มรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัตร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จนได้รับการแต่งตั้งเลื่อนขั้นเป็นสารวัตรในกองวินัย ต่อมาเป็นสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 4 กองกำกับการ 5 จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และสารวัตรสถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 3 จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นนายตำรวจราชสำนักประจำ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และเป็นผู้ช่วยนายเวรตำรวจราชสำนักประจำให้กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547[8][9]

ระดับผู้กำกับการ

หลังจากได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันตำรวจเอก พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้น ได้รับตำแหน่งผู้กำกับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่อำนวยการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[9] จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 จึงได้เป็นผู้กำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์[8] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ได้เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 10 กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 ถูกส่งไปเป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ จนได้เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา[9] และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการณ์ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาส่วนหน้า รับผิดชอบพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาที่เป็น 'พื้นที่สีแดง' เสี่ยงต่อภัยความไม่สงบบริเวณชายแดนภาคใต้[5]

ระดับผู้บังคับการและผู้บัญชาการ

ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจตรี ในตำแหน่งผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[10][11]ทำหน้าที่ประสานงานกับนายกรัฐมนตรี รายงานต่อ พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังจากในทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[9][5] ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว[12]จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้เป็นผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ[13]จนกระทั่งวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 เข้ามาทำหน้าที่รักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว จนได้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[14]จนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลตำรวจตรี สุรเชษฐ์ ในขณะนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลตำรวจโท และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง[15][16]

คำสั่งย้าย

ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไปปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย จนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้มีคำสั่งจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อโอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทนักบริหารระดับสูง ในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี[8][9] และให้ถูกเพิ่มรายชื่อในบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 16/2558 เพื่อได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องด้วยมีมูลกรณี เมื่อถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ทำให้เสียหายแก่ทางราชการหรือทำให้ประชาชนเดือดร้อน[17]

ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 รถยนต์ส่วนตัวของ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ถูกยิง ณ บริเวณถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม. โดยในขณะนั้น พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ไม่ได้อยู่ภายในรถ[18] โดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ รวมถึงสื่อหลายแห่งได้ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์นี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับกรณีที่ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับความผิดปกติในโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจสอบและพิสูจน์อัตลักษณ์และโครงการจัดซื้อจัดจ้างรถตรวจการณ์ไฟฟ้าของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยกล่าวหาว่าบริษัทผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด แต่ สตช. ตรวจรับงานไว้ก่อน ทำให้ผู้รับจ้างไม่ต้องเสียค่าปรับ[19][20][21] ในขณะอีกส่วนหนึ่งก็ตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเป็นการจัดฉากโดย พล.ต.ท. สุรเชษฐ์เอง[22]

ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้มีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาจรรยาและวินัยข้าราชการ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่าคำสั่งนี้ออกมาเนื่องจากมีการร้องเรียน จึงต้องเตือนไว้ก่อน[23]

ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นหนังสือลากิจเพื่อขอบวชที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 9 วัน[24] และกลับมาปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2563

ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เรื่องคำสั่งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม กรณีถูกย้ายจาก ผบช.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีออก เนื่องจากเห็นว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ขอให้พิจารณามีคำสั่งกลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการดังเดิม แต่เนื่องจากยังไม่พ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้รับหนังสือ จึงถือว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ยังไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนตามที่ได้ยื่นฟ้องศาลไว้ เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>

การกลับมาเป็นข้าราชการตำรวจ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.ท. สุรเชษฐ์ หักพาล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจมีมติเห็นชอบให้รับโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา (สบ.9) เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564[25]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 พลตำรวจตรี สุรเชษฐ์ หักพาล นักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 31 เลขประจำตัว 17592 รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2560 สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ
  2. โปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ตำรวจดำรง 254 ตำแหน่ง-"บิ๊กโจ๊ก" นั่ง ผบช.สตม.เต็มตัว
  3. ตั้ง 'สุรเชษฐ์ หักพาล' นั่งผู้ช่วยโฆษก 'ประวิตร' ช่วยด้านกฎหมาย
  4. “ประวิตร”ตั้ง”สุรเชษฐ์”ผช.โฆษกรองนายกฯ
  5. 5.0 5.1 5.2 ด่วน!”บิ๊กตู่”ใช้ม.44 โอน”บิ๊กโจ๊ก”เป็นขรก.พลเรือน นั่งที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกฯ โดนสอบด้วย
  6. คำสั่ง หัวหน้าคสช. โอนย้าย"บิ๊กโจ๊ก" เป็นข้าราชการพลเรือน
  7. ชะตาชีวิต "นายพล" คนดัง "สุรเชษฐ์ หักพาล" ในเส้นทางสีกากีก่อนถูกสั่งย้ายด่วนเข้ากรุ
  8. 8.0 8.1 8.2 ย้อนอ่าน เส้นทาง ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล’ ฉายา ‘โจ๊ก หวานเจี๊ยบ’ ก่อนเป็น ขรก.พลเรือน
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 เส้นทางชีวิต “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๐)
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๓)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๑๖)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ (หน้า ๙)
  17. หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" พ้น สตช. ไปเป็น ขรก. พลเรือน
  18. ระทึก ! บุกยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล
  19. “บิ๊กโจ๊ก” หักพาล ออกจากกรุทำเนียบ ท้ารบ “บิ๊กแป๊ะ”
  20. ไขปม บิ๊กแป๊ะ VS บิ๊กโจ๊ก เอาใจ 'นายยี้ห้อย' ปูทางการเมือง
  21. ยังไม่รู้มือยิงรถ ‘พล.ต.ท.สุรเชษฐ์’-ชุดสืบสอบบอก ‘บิ๊กโจ๊ก’ ไม่ห่วงรถเท่าไหร่ โยงแต่ไบโอแมตริกซ์
  22. เบื้องลึก เบื้องหลัง ยิงรถ “บิ๊กโจ๊ก”
  23. บิ๊กช้างย่องเงียบ ดอดรายงานตัว หึ่ง‘โจ๊ก’งานเข้า
  24. อาชญากรรม | หนีร้อนไปพึ่งเย็น “บิ๊กโจ๊ก” ลาบวช ศึก “สีกากี” นี้วุ่นวายหนอ?
  25. "สุรเชษฐ์ หักพาล" เริ่มงานพรุ่งนี้ ย้อนประวัติสำนักปทุมวัน บิ๊กตร. ย้ายไป ย้ายกลับมาใหญ่กว่าเก่า ไม่ใช่คนแรก!
  26. ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/047/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐] หน้า ๑๗๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข, ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
  27. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ หน้า ๕ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข, ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๗ ข, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๓ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข, ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐