ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 112: บรรทัด 112:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.5]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.5]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลงอนรถ]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลงอนรถ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:05, 6 พฤศจิกายน 2562

หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์

หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์
ไฟล์:หม่อมเจ้าดวงจิตร.JPG
ประสูติ26 กันยายน พ.ศ. 2451
กรุงเทพมหานคร ไทย
สิ้นชีพิตักษัย6 กันยายน พ.ศ. 2548 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ไทย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์โต งอนรถ

หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (26 กันยายน พ.ศ. 2451 - 6 กันยายน พ.ศ. 2548) เป็นพระธิดาลำดับที่ 6 ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลำดับที่ 2 อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ มีพระเชษฐภคินี พระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 4 พระองค์ คือ [1]

หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ประสูติที่ตำหนักเก้าห้องในบริเวณวังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ในขณะนั้น

การศึกษา หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ทรงเล่าเรียนในระยะแรกที่วังท่าพระ หลวงสำเร็จวรรณกิจเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับเชิญมาสอนโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หลังจากนั้นทรงเข้าเป็นนักเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ย้ายที่ประทับไปประทับที่ตำหนักปลายเนิน คลองเตยเป็นการถาวร หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์จึงทรงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเอสพีจีแมรี ถนนราชดำริ

งาน ระหว่างที่ทรงศึกษาที่โรงเรียนเอสพีจีแมรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งอภิรัฐมนตรี ทรงมีงานราชการเพิ่มมากขึ้น หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ จึงทรงลาออกจากโรงเรียน มาเป็นเลขานุการในพระองค์เต็มเวลา

หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไปในงานพระราชพิธีต่างๆ และยังตามเสด็จเวลาไปทรงงานราชการด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีปัญหาเรื่องพระกรรณไม่ดี หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตรต้องทรงช่วยทูลเรื่องที่ไม่ทรงได้ยินถนัดเพิ่มเติมถวาย หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตรจึงทรงรู้จักข้าราชการกรมศิลปากรทุกคนในสมัยนั้น สามารถติดตามงานต่างๆถวายได้

งานอดิเรก หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร จิตรพงศ์ ใช้เวลาว่างทรงอ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ทรงเริ่มงานประพันธ์ด้วยการแปลตำรากับข้าวจากหนังสือของมิสซิสบีตันไปลงพิมพ์ในหนังสือไทยเกษมและหนังสือนารีนาถ โปรดแต่งบทความและบทกลอนให้พรเป็นงานอดิเรก และทรงนิพนธ์บทประพันธ์เพื่อใช้ในงานนักเรียนเก่าอังกฤษและงานนักเรียนเก่าอเมริกัน

งานส่วนพระองค์เรื่องสำคัญที่ทรงทำคือ หนังสือ"สาส์นสมเด็จ" หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตรทรงพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์จากต้นร่างลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

หนังสือ"ป้าป้อนหลาน" โดยเบื้องต้นทรงแต่งขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่หลานๆ โดยได้พิมพ์ครั้งแรกเมื่องานฉลองพระชันษา 5 รอบเมื่อปี2511 และได้ทรงนิพทธ์เพิ่มอีก 2 ชุด โดยได้มีการรวบรวมทั้งสามชุดมาพิมพ์เพื่อแจกงานฉลองพระชันษา 90 ปี และสุดท้ายได้นำมาพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพในปี 2550 หนังสือเล่มนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ถวายถ้วยรางวัลดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย

หม่อมเจ้าหญิงดวงจิตร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 พระชันษา 96 ปี

เครื่องราชอิสิรยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  2. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 67 วันที่ 24 พฤษภาคม 2527