ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
ครองราชย์12 ตุลาคม ค.ศ. 1730 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1746
ราชาภิเษก6 มิถุนายน ค.ศ. 1731
ปราสาทเฟรเดอริกส์บอร์ก
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4
ถัดไปพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5
พระราชสมภพ30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1699
โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก
สวรรคต6 สิงหาคม ค.ศ. 1746
เดนมาร์ก
คู่อภิเษกโซฟี มัคดาเลเนอ ฟ็อน บรันเดินบวร์ค-คุล์มบัค
พระราชบุตรพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค
พระราชบิดาพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 6
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก (อังกฤษ: Christian VI of Denmark) (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1699 - 6 สิงหาคม ค.ศ. 1746) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ระหว่างปี ค.ศ. 1730 ถึง 1746 เป็นพระราชโอรสองค์โตที่ยังทรงพระชนม์อยู่ของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 แห่งเดนมาร์กและสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะไม่เป็นที่รู้จักมากนักเมื่อเทียบกับพระมหากษัตริย์องค์อื่น ๆ ของเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่พระองค์ก็ทรงเป็นนักการเมืองที่เก่งกาจและเป็นที่รู้จักจากการปกครองแบบเผด็จการ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์อ็อลเดินบวร์คที่ทรงมีพระราชดำริแตกต่างจากพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ โดยไม่เข้าร่วมสงครามใด ๆ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ระหว่างรัชสมัยของพระองค์ ทั้งการศึกษาภาคบังคับ (1736) และโรงเรียนเทศบาล (1739) ได้ถูกนำมาใช้ พระองค์ใช้คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์ว่า "เพื่อพระผู้เป็นเจ้าและพสกนิกร"[1][2]

คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ

พระราชประวัติ

[แก้]
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ในช่วงทรงพระเยาว์

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 เสด็จพระราชสมภพในช่วงเช้ามืดของวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1699 ที่ปราสาทโคเปนเฮเกน เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 แต่เป็นพระราชโอรสองค์โตที่ยังทรงพระชนม์อยู่ของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 แห่งเดนมาร์กและหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์[3] เนื่องจากพระเชษฐาของพระองค์ซึ่งมีพระนามว่าคริสเตียนเช่นกัน สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ในปี ค.ศ. 1698 และพระอัยกาคือพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก สวรรคตเพียง 3 เดือนก่อนที่พระองค์จะประสูติ พระองค์จึงเป็นรัชทายาทตั้งแต่แรกประสูติ เจ้าชายน้อยได้เข้าพิธีรับศีลจุ่มในวันเดียวกัน โดยเปเดอร์ เยสเปอร์เซน บาทหลวงประจำราชสำนักเป็นผู้ทำพิธี และทรงพระนามตามพระอัยกาคือพระเจ้าคริสเตียนที่ 5[4]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1706 เจ้าชายคริสเตียนเริ่มเข้าใจภาษาเดนมาร์ก แต่ในชีวิตประจำวันนั้น พระองค์ใช้ภาษาเยอรมันในการตรัสและทรงพระอักษร พระองค์ได้รับการศึกษาที่ดีกว่าทั้งพระราชบิดาและพระอัยกา

ในฐานะรัชทายาท พระองค์ได้รับพระราชานุญาตจากพระราชบิดาให้เลือกพระชายาด้วยพระองค์เอง ระหว่างการเสด็จประพาสยุโรปพร้อมด้วยอุลริก อดอล์ฟ ฮ็อลชไตน์ อัครมหาเสนาบดี องค์รัชทายาทตัดสินพระทัยเลือกโซฟี มัคดาเลเนอ ฟ็อน บรันเดินบวร์ค-คุล์มบัค ซึ่งเป็นหนึ่งในนางสนองพระโอษฐ์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินีคริสทีอาเนอ เอเบอร์ฮาร์ดีเนอแห่งบรันเดินบวร์ค-ไบร็อยท์ เป็นพระชายา ณ ปราสาทเพร็ทซ์[5] โซฟี มัคดาเลเนอ มาจากดินแดนขนาดเล็กแห่งหนึ่งของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเทียบกับดินแดนโลลแลนด์-ฟาลสเตอร์ ครอบครัวของเธอประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เนื่องจากที่ดินครึ่งหนึ่งถูกจำนอง และบิดาของเธอเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้โซฟีต้องเผชิญกับชีวิตที่ยากลำบาก โซฟี มัคดาเลเนอ มีพี่น้องถึง 13 คน และถูกมองว่าเป็นคู่ที่ไม่เหมาะสมกับเจ้าชายคริสเตียน แต่พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 อนุญาตให้ทั้งสองอภิเษกได้ ในพระราชหัตถเลขาของเจ้าชายคริสเตียน พระองค์บรรยายถึงความรู้สึกที่พระองค์มีต่อเจ้าหญิงพระชายา ซึ่งทำให้พระองค์นึกถึงความรู้สึกของพระองค์เองในอดีต ทั้ง 2 พระองค์อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1721 ขณะที่เจ้าชายคริสเตียนดำรงตำแหน่งรัชทายาท พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่เมืองเพร็ทช์ ในรัฐซัคเซิน[6][7]

รัชสมัย

[แก้]
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ในปี 1731

เมื่อพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 เสด็จสวรรคตลงในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1730 พระองค์และพระชายาก็ได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองประเทศยังรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1731 ณ โบสถ์ภายในปราสาทเฟรเดอริกสบอร์ก[8]

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 พระองค์เป็นคนขี้อายและเก็บพระองค์ ไม่ค่อยปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะ ความไม่พอพระทัยของพระองค์ต่อการมีสนมหลายคนและความสัมพันธ์นอกสมรสของพระราชบิดา – อันเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงของพระราชมารดาผู้จากไปของพระองค์ – หนึ่งในพระราชดำริแรกของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 คือการยกเลิกพระราชประสงค์ของพระราชบิดา ทำให้พระราชินีแอนนา โซฟี (พระมเหสีองค์ที่สามของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 หากนับรวมการ 'สมรส' ทั้งหมด) สูญเสียพระราชมรดกส่วนใหญ่ที่สมควรจะได้รับไป และถูกเนรเทศไปยังคฤหาสน์คลาอุสโฮล์ม ซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์[9]

ในช่วง 10 ปีแรกแห่งการครองราชย์ของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 พระองค์ปรึกษาหารือกับพระญาติ คือ เคานต์คริสเตียน เออร์เนสต์ แห่งสตอลเบิร์ก-เวอร์นิเกโรเด บ่อยครั้ง ท่านเคานต์มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกือบทุกเรื่อง ตั้งแต่การปลดพ่อครัวในครัวของพระราชินี ไปจนถึงการกำหนดนโยบายพันธมิตรทางการเมือง เขาสนับสนุนให้เดนมาร์กรักษาความสัมพันธ์อันดีกับอังกฤษให้นานที่สุด ซึ่งนำไปสู่การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงหลุยส์ พระราชธิดาของพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ กับเจ้าชายเฟรเดอริก พระราชโอรสองค์โตของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1733 พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 และพระราชินีโซฟี มัคดาเลเนอเสด็จไปยังนอร์เวย์ ในระหว่างการเสด็จเยือนเมืองทร็อนไฮม์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม มีการแสดงบทกวีรวมถึงสุนทรพจน์โดยปีเตอร์ ฮอยเออร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าคริสเตียนที่ 6[10] หนึ่งในนโยบายสำคัญของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 คือการบังคับใช้พระราชบัญญัติทาสติดที่ดิน ค.ศ. 1733 หรือ Stavnsbånd ในภาษาเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1733 กฎหมายฉบับนี้ทำให้ชาวนาเดนมาร์กถูกจำกัดให้ทำงานในพื้นที่ของตนเองและไม่สามารถย้ายไปอยู่ที่อื่นได้ นอกจากนี้ ชาวนายังต้องรับราชการทหารด้วย ทำให้ชาวนาสูญเสียอิสรภาพและสิทธิในการดำเนินชีวิต พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ทรงออกกฎหมายเพื่อรักษาจำนวนทหารราบชาวนาให้คงที่ แต่กฎหมายฉบับนี้กลับกลายเป็นการกดขี่ชาวนาอย่างหนัก ทำให้พระองค์ถูกมองในแง่ลบและส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของพระองค์อย่างมาก พระราชบัญญัติทาสติดที่ดินฉบับนี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1788 ในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 พระราชนัดดาของพระองค์[11]

พระราชวังคริสเตียนบอร์กซึ่งตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์

แนวคิดแบบปิเอติสต์ในนิกายลูเทอแรนมีอิทธิพลต่อการปกครองศาสนจักรของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 เป็นอย่างมาก แม้ว่าทั้งเหล่าขุนนางและชาวบ้านจะแอบต่อต้านพระองค์อย่างลับ ๆ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลอะไร แต่ก็มีอิทธิพลต่อบทกวีส่วนใหญ่ในยุคนั้น รวมถึงของฮันส์ เอดอล์ฟ บรอร์สัน (1694–1764) หนึ่งในผลงานที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือการนำระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐบัญญัติให้ทุกคนต้องได้รับมาบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1736 สิ่งนี้จำเป็นต้องมีการรู้หนังสือในระดับหนึ่ง ดังนั้นพระองค์จึงส่งเสริมระบบโรงเรียนเทศบาล ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในปี ค.ศ. 1739[12][13]

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ทรงสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมากในศตวรรษที่ 18 โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชาแห่งการก่อสร้าง" ของเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชินีของพระองค์ก็ทรงมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้เช่นกัน หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของพระองค์คือพระราชวังคริสเตียนสบอร์ก ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1732–1742 แม้ว่าพระราชวังหลังนี้จะถูกไฟไหม้ในปี ค.ศ. 1794 แต่ก็ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังคงเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเดนมาร์กจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสร้างพระราชวังฮิร์ชโฮล์ม ซึ่งเป็นที่ประทับฤดูร้อนอันงดงามในเขตเกาะเชลลันด์เหนือ และพระราชวังเอเรมิทาจ ซึ่งยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทได้ทรงสร้างพระราชวังในคัลเวโบเดอร์เน (สร้างขึ้นในปี 1743–1744 โดยยังคงตั้งอยู่ในฐานะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) เงินในการก่อสร้างอาคารอันโอ่อ่าของพระองค์นั้นมาจากภาษีเออเรซุนด์ ซึ่งเป็นภาษีเรือที่เก็บจากเรือที่ผ่านช่องแคบเออเรซุนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกถึงอำนาจและความร่ำรวยของราชอาณาจักรเดนมาร์ก อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเหล่านี้กลับกลายเป็นภาระทางเศรษฐกิจที่หนักอึ้งแก่ประชาชน[14]

นโยบายต่างประเทศของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ที่เน้นความสงบสุขรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ทำให้เดนมาร์ก-นอร์เวย์ หลีกเลี่ยงการเข้าไปพัวพันกับสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปในช่วงเวลานั้น ในด้านการค้าและการพาณิชย์ อยู่ในยุคแห่งความก้าวหน้า มีการก่อตั้งบริษัทและธนาคารใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง แผนการที่จะทำให้ เจ้าหญิงหลุยส์ พระราชธิดาพระองค์เดียวของพระองค์เป็นราชินีสวีเดนไม่เคยเกิดขึ้น มีการพิจารณาเลือกผู้สืบทอดราชบัลลังก์สวีเดน เนื่องจากพระเจ้าเฟรดริกที่ 1 แห่งสวีเดนสวรรคตไม่มีทายาทโดยตรง ทั้งเจ้าชายแห่งชไวบรึคเคิน-เบียร์เคินเฟลด์ และเจ้าชายแห่งเม็คเลนบวร์ค ต่างก็เป็นผู้สมัครที่ได้รับการพิจารณา แต่ในปี ค.ศ. 1743 อดอล์ฟ ฟรีดริชแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อตทอร์ปกลับได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทแห่งสวีเดนเป็นพระเจ้าอดอล์ฟเฟรดริกแห่งสวีเดน[15]

สนธิสัญญาอิลเดฟอนโซ

[แก้]

สนธิสัญญาอิลเดฟอนโซ ลงนามในปี ค.ศ. 1742 ระหว่างราชอาณาจักรเดนมาร์ก-นอร์เวย์ภายใต้พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 และราชอาณาจักรสเปน สนธิสัญญานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทางด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างกัน โดยกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ โฆเซ เดล คัมปิญโญ ในฐานะผู้แทนของพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน และเฟรเดอริก ลุดวิก บารอนแห่งเดน ในฐานะผู้แทนของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ได้ลงนามในสนธิสัญญา ณ พระราชวังลา กรันญ่า เด ซาน อิลเดฟอนโซ ซึ่งเป็นที่ประทับฤดูร้อนอันงดงามของพระราชวงศ์สเปนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1742 อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญานี้กลับไม่มีผล เนื่องจากข้อตกลงที่ให้เดนมาร์กยกเว้นภาษีนำเข้าปลาครึ่งหนึ่งขัดแย้งกับสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่สเปนทำไว้กับประเทศคู่ค้ารายอื่นอีก 3 ประเทศ ซึ่งทั้ง 3 ประเทศได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในลักษณะเดียวกัน ทำให้สเปนไม่สามารถให้สิทธิพิเศษแก่เดนมาร์กเพียงฝ่ายเดียวได้ ในปี ค.ศ. 1753 สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ถูกยกเลิก[16]

สวรรคต

[แก้]

ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 มีพระพลานามัยไม่แข็งแรง และประชวรเรื้อรัง วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1746 ก่อนวันครบรอบการเสกสมรสครบ 25 ปีเพียงวันเดียว พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ได้เสด็จสวรรคต ณ พระราชวังฮิร์ชโฮล์ม พระบรมศพของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ได้ถูกบรรจุไว้ ณ มหาวิหารรอสคิลด์ หลังจากการสวรรคต พระราชินีโซฟี มัคดาเลเนอ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างอนุสรณ์สถานนี้ขึ้นมาในสไตล์นีโอคลาสสิก[17]

อนุสรณ์สถานหินอ่อนสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1768 แต่ได้นำไปประดิษฐาน ณ มหาวิหารรอสคิลด์ในปี ค.ศ. 1777 อนุสรณ์สถานประกอบด้วยโลงพระศพและรูปปั้นผู้หญิงสองคน "Sorgen" ("ความโศกเศร้า") และ "Berømmelsen" ("ชื่อเสียง") โลงพระศพของพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบนีโอคลาสสิก ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกโบราณและโรมันโบราณ โลงพระศพนี้ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่นำรูปแบบศิลปะนีโอคลาสสิกมาใช้ในประเทศเดนมาร์ก และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการแพร่หลายของศิลปะแบบนีโอคลาสสิกในประเทศ[18][19][20]

มรดก

[แก้]

พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 ทรงเป็นที่จดจำในฐานะกษัตริย์ผู้เคร่งศาสนา พระองค์เป็นผู้ศรัทธาในลัทธิพิเอทิสต์อย่างแรงกล้า และทรงพยายามเผยแพร่คำสอนนี้แก่ประชาชนตลอดรัชกาล ความกดดันทางศาสนาที่พระองค์กำหนด ควบคู่ไปกับการขาดเสน่ห์ส่วนพระองค์ ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ไม่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเดนมาร์ก-นอร์เวย์[21] พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของเดนมาร์กที่ไม่เคยเข้าร่วมสงคราม หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำสงครามเลย

เมืองคริสเตียนซุนด์ในนอร์เวย์และเมืองคริสเตียนสเตดบนเกาะเซนต์ครอยตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Christian VI family info". kongernessamling.dk. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  2. "Christian VI (1699–1746) konge af Danmark og Norge". kongehuset.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  3. "Kongelige i kirkebøgerne" [Royals in the church records]. historie-online.dk (ภาษาเดนมาร์ก). Dansk Historisk Fællesråd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
  4. Hindø, Lone; Boelskifte, Else (2007). "Gud lade ham gå frem fra dyd til dyd" [Got let him go from virtue to virtue]. Kongelig Dåb. Fjorten generationer ved Rosenborg-døbefonten [Royal Baptisms. Fourteen generations at the Rosenborg baptismal font] (ภาษาเดนมาร์ก). Forlaget Hovedland. p. 27-31. ISBN 978-87-7070-014-6.
  5. "Christian 6. Konge af Danmark - Norge fra 1730-46". danskekonger.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2009. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  6. Tyge Krogh Rationalismens syndebuk. Christian 6. og pietismen i dansk historieskrivning Museum Tusculanum Press, 1997 ISBN 9788772894515
  7. "Sophie Magdalene (1700–1770)". Dansk Kvindebiografisk Leksiko. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  8. Monrad Møller, Anders (2012). "Christian VI.s & Sophie Magdalenes salving" [The anointing of Christian VI and Sophie Magdalene]. Enevældens kroninger. Syv salvinger - ceremoniellet, teksterne og musikken [The coronations of the absolute monarchy. Seven anointings - the ceremonial, the lyrics and the music] (ภาษาเดนมาร์ก). Copenhagen: Forlaget Falcon. pp. 78–103. ISBN 978-87-88802-29-0.
  9. "The estate of Clausholm". clausholm.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  10. Finn Erhard Johannessen. "Christian 6" (ภาษานอร์เวย์). Norsk biografisk leksikon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  11. "Denmark: Adscription of 1733 (Stavnsbåndet)". familysearch.org. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  12. "Hans Adolf Brorson, 1694-1764". Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  13. "Forordning om Skolerne på Landet i Danmark, 23. januar 1739". danmarkshistorien.dk. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  14. Magne Njåstad. "Christian VI profile" (ภาษานอร์เวย์). Store norske leksikon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  15. "Adolf Fredrik". Svenskt biografiskt lexikon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  16. Tratados, Convenios Y Declaraciones De Paz Y De Comercio, books.google.com; accessed 4 February 2017.(ในภาษาสเปน)
  17. [1]| Dansk Biografisk Leksikon; accessed 4 February 2017.(ในภาษาเดนมาร์ก)
  18. Koch, L. Kong Christian den Siettes Historie (Copenhagen: 1886).
  19. Edvard Holm. Danmark-Norges historie under Kristian VI (1730–1746).
  20. "Christian VI profile" (ภาษาเดนมาร์ก). gravsted.dk. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.
  21. "Christian VI, 1699-1746, Konge" (ภาษาเดนมาร์ก). Dansk biografisk Lexikon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2016.

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก
(12 ตุลาคม พ.ศ. 2273 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2289)
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก